แบงก์ชาติ ชี้รับจ่ายบิลค่าไฟแลกเงินสด ไม่ผิด จี้ “Shopee” ปล่อยกู้อย่างรับผิดชอบ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แบงก์ชาติ ชี้รับจ่ายบิลค่าไฟแลกเงินสด ไม่ผิด จี้ “Shopee” ปล่อยกู้อย่างรับผิดชอบ

Date Time: 30 เม.ย. 2567 17:51 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ธปท.ชี้ใช้ SPayLater รับจ่ายบิลค่าไฟแลกเงินสด ไม่ผิด เสี่ยงโดนเบี้ยวหนี้ทั้งสองฝ่าย จี้ “Shopee” ปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ หวั่นกระทบวินัยทางการเงินลูกค้า

Latest


วันนี้ (30 เม.ย. 2567) ในงาน BOT Monthly Briefing ภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือนมีนาคม 2567 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ตอบคำถามสื่อมวลชนในประเด็นความกังวล หลังมีประชาชนบางกลุ่มรับจ่ายบิลค่าไฟเพื่อแลกเงินสด แล้วค่อยผ่อนจ่ายทีหลังผ่านบริการสินเชื่อดิจิทัล SPayLater ของ Shopee  


โดยระบุว่า ธปท.ได้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยกับ Shopee จาการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า การทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าวนั้น ไม่ได้ผิดหลักเกณฑ์การให้บริการสินเชื่อดิจิทัล เนื่องจากเป็นการตัดสินใจของลูกหนี้ที่มีเครดิตกับทางแพลตฟอร์มเอง มีการยินยอมรับผลประโยชยน์ร่วมกัน


แต่ได้มีการกำชับให้ Shopee เข้ามาดูแลความเสี่ยงของลูกหนี้ที่รับจ่ายบิลผ่านแพลตฟอร์ม และเจ้าของบิล ซึ่งมีความเสี่ยงโดนเบี้ยวหนี้ทั้งสองฝ่าย รวมถึงการพิจารณา ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ มีการระบุภาระดอกเบี้ยอย่างชัดเจน

เนื่องจากทางแพลตฟอร์มมีการเก็บอัตราดอกเบี้ยที่แพง การทำธุรกรรม ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อวินัยทางการเงินของผู้ใช้บริการได้


สำหรับประเด็นเงินบาทอ่อนค่า นายสักกะภพ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทิศทาง การดำเนินนโยบาย การเงินของเฟด ได้สนับสนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้เงินสกุลอื่นอ่อนค่าลง โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกว่า 4.4% ในขณะที่บาทอ่อนค่าไปมากกว่า 7.8% อ่อนค่านำหน้าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคในช่วงไตรมาส 1/2567 ทั้งนี้สาเหตุหลักๆ มาจากตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ของไทย ที่ออกมา ต่ำกว่าคาดการณ์


อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างเกาะกลุ่ม โดยอ่อนค่าอยู่ระดับกลางเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค ที่ 1.7% หลังจากผ่านช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงปกติที่บาทค่อนข้างอ่อน จากปัจจัยชั่วคราวที่เข้ามากดดัน เช่น การจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน นักท่องเที่ยวที่ลดลง เมื่อผ่านช่วงนี้ไปแล้ว ในระยะข้างหน้า ปัจจัยที่กดดันเงินบาทจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์