รถไฟฟ้าทุกสี 20 บาทตลอดสาย “สุริยะ” ยันเดือน ก.ย.68 เกิดขึ้นได้แน่นอน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

รถไฟฟ้าทุกสี 20 บาทตลอดสาย “สุริยะ” ยันเดือน ก.ย.68 เกิดขึ้นได้แน่นอน

Date Time: 29 เม.ย. 2567 05:09 น.

Summary

  • “สุริยะ” เดินหน้าเต็มกำลัง ดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกเส้นทางทุกสีภายในเดือน ก.ย.68 หวังลดค่าครองชีพประชาชน พร้อมเร่งออก พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คุมค่าโดยสารรถไฟฟ้า แบบเบ็ดเสร็จ ดันตั้งกองทุนฯสนับสนุนชดเชยค่าโดยสาร พร้อมให้ ขสมก.จัดทำเส้นทาง Feeder รับ-ส่งผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการรถไฟฟ้า

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมยืนยันเดินหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และมีเป้าหมายให้ประชาชนที่เดินทางผ่านระบบขนส่งมวลชนทางรางด้วยรถไฟฟ้าได้ใช้นโยบายนี้ครบทุกสายที่เปิดให้บริการในปัจจุบันภายใน 2 ปีนี้ คือเดือน ก.ย.68 จากที่ประกาศนโยบายไปเมื่อ ก.ย.66 ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้ที่ใช้รถไฟฟ้าระยะไกลมีอัตราสูงถึง 192 บาท เป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนที่เดินทางผ่านระบบราง ดังนั้น ภาครัฐจึงมีนโยบายที่จะลดภาระค่าครองชีพด้วยการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง ซึ่งปัจจุบันนำร่องเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายที่รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เส้นทางตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-เตาปูน

“การดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มั่นใจว่าจะใช้เวลา 2 ปี หรือช่วงเดือน ก.ย.68 รถไฟฟ้าทุกสีและทุกสายทางจะเข้าร่วมนโยบายทั้งหมด ขณะที่รถไฟฟ้าสีอื่นที่อยู่ในขั้นตอนก่อสร้างและเตรียมก่อสร้าง เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หากตนยังคงเป็น รมว.คมนาคม ยืนยันว่าจะผลักดันให้เข้า ร่วมนโยบายทั้งหมด ซึ่งนอกจากลดภาระค่าครองชีพประชาชนแล้ว ยังสามารถลดปัญหา PM 2.5 ได้ อีกด้วย เพราะหวังว่าประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว จะได้มาใช้รถไฟฟ้าแทน รวมถึงแก้ปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่ได้อีกด้วย”

นายสุริยะกล่าวต่อว่า สำหรับปัจจัยที่จะทำให้ นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ประสบความสำเร็จ ปฏิบัติได้จริงนั้น ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.)ได้เร่งจัดทำร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม หรือ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม โดยมีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาหลักการด้านต่างๆที่มีความเหมาะสมและเสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอ ครม. และเข้าสภาผู้แทนราษฎร เบื้องต้นคาดว่าภายในปี 68 จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้แล้ว ภายใน พ.ร.บ.ยังมีแผนจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจากมาตรการ ทั้งการชดเชยค่าโดยสารที่ปรับลง หรือผลกระทบจากการดำเนินการ นโยบาย ทั้งนี้ การระดมเงินเข้ากองทุนฯนั้นจะเป็นเงินงบประมาณจากรัฐบาล หรือขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการจัดเส้นทางเชื่อมจากชุมชนมายังสถานีรถไฟฟ้า หรือ Feeder เพื่อเพิ่มประ สิทธิภาพนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ภายใน 2-3 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจน เบื้องต้นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะเป็นผู้ทำ หน้าที่ Feeder และหากเอกชนรายใดมีความพร้อม ด้านการให้บริการขนส่งก็สามารถเข้าร่วมการจัดเส้นทาง Feeder ได้ ซึ่งแผนระยะสั้นจะผลักดัน 30 เส้นทาง เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง ส่วนปี 68-69 จะเพิ่มจำนวน เพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สีเขียว สีชมพู และสายสีส้ม และอีก 66 เส้นทางจะดำเนินการในระยะถัดไป.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ