แบงก์ชาติ ไม่ขวาง แจกเงินดิจิทัล หวังเห็นมาตรการที่ดีกว่า จับตา "เงินบาท" อ่อนค่าใกล้ชิด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แบงก์ชาติ ไม่ขวาง แจกเงินดิจิทัล หวังเห็นมาตรการที่ดีกว่า จับตา "เงินบาท" อ่อนค่าใกล้ชิด

Date Time: 24 เม.ย. 2567 16:08 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • แบงก์ชาติ ยืนยันไม่มีอำนาจชี้ขาด ธ.ก.ส. ปล่อยกู้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ย้ำจุดยืนแจกเงินเฉพาะกลุ่ม "เปราะบาง" ช่วยประหยัดงบคุ้มค่ากว่า พร้อมจับตา "เงินบาทอ่อนค่า" อย่างใกล้ชิด

Latest


วันนี้ (24 เม.ย. 2567) ในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 1/2024 แลกเปลี่ยนความเห็นประเด็นเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงิน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยจุดยืนของแบงก์ชาติต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทบทวนโครงการฯ เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา

โดยกล่าวว่า ในภาพรวม ธปท.ไม่ได้ขัดข้องต่อมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่กังวลเรื่องรูปแบบการดำเนินโครงการฯ โดยมองว่าการแจกเงินแบบ

เจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่มีความเปราะบาง หรือมีความยากลำบากจริงๆ ในแง่ของความคุ้มค่า จะได้แรงส่งทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า คุ้มค่ากับเม็ดเงินลงทุน รวมถึงประหยัดงบประมาณ ทั้งนี้ในแง่รูปแบบการจัดหาแหล่งเงินทุนโครงการฯ ก็อยากจะมั่นใจว่าจะทำให้มีความยั่งยืนและเป็นไปตามกรอบเกณฑ์ที่ควรจะเป็น

ส่วนในเรื่องการอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ธ.ก.ส.เป็นหนึ่งในแหล่งเงินของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ธปท.ไม่มีอำนาจในการตัดสิน ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาในการตีความว่าจะสามารถใช้มาตรา 28 กับโครงการแจกเงินได้หรือไม่ รวมถึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ส่วน ธปท.มีหน้าที่กำกับดูแลสถานะการเงินทั่วไป

สำหรับประเด็นเงินบาทที่อ่อนค่ามากสุดในรอบ 6 เดือน ทะลุระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ ในปัจจุบัน นายปิติ ยอมรับว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวน ค่อนข้างมากและอ่อนค่านำสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ซึ่งเป็นประเด็นที่ ธปท.จับตาอยู่ เพราะไม่ต้องการเห็นตลาดทำงานไม่ปกติ (disfunction) เช่น เกิดภาวะชะงักงัน หรือสภาพคล่องลดลง อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่เห็นสัญญาณดังกล่าวเกิดขึ้น 


ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลง มีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยจากต่างประเทศ เป็นผลมาจากการคงนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ด้วยอัตราดอกเบี้ยระดับสูงที่ยาวนานขึ้น ขณะที่ปัจจัยเฉพาะในประเทศ เช่น ปัจจัยเชิงฤดูกาล ได้แก่ การส่งเงินปันผลกลับบริษัทต่างประเทศ ในช่วงไตรมาสที่มีมูลค่ามากถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยน้อยลง จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งส่งผลให้มีดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 2

แต่เมื่อมองไปในช่วงครึ่งปีหลัง มีโอกาสที่ภาคการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว อาจเป็นแรงหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น สรุปคือ การอ่อนค่าของเงินบาทยังไม่ได้ส่งผลกระทบ จนต้องมีจัดการเชิงนโยบาย 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ