ส่องพฤติกรรมใช้จ่าย “ดิจิทัลวอลเล็ต” กว่า 80% ลดใช้เงินส่วนตัว เก็บไว้จ่ายหนี้ Gen Z ซื้อมือถือ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่องพฤติกรรมใช้จ่าย “ดิจิทัลวอลเล็ต” กว่า 80% ลดใช้เงินส่วนตัว เก็บไว้จ่ายหนี้ Gen Z ซื้อมือถือ

Date Time: 24 เม.ย. 2567 11:17 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • คนไทยเตรียมใช้จ่ายเงิน จากโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” อย่างไรบ้าง หลังคณะรัฐมนตรีไฟเขียวรายละเอียดโครงการฯ Thairath Money ชวนส่องพฤติกรรมใช้จ่าย เงินดิจิทัล 10,000 บาท คนแต่ละกลุ่มใช้จ่ายอะไร สินค้าไหนได้ประโยชน์ เม็ดเงินลงเศรษฐกิจแค่ไหน

Latest


เลื่อนแล้วเลื่อนอีก สำหรับโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท เนื่องจากติดปัญหาในหลายส่วน ทั้งแหล่งที่มาของเงินโครงการฯ เงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จนหลายคนเริ่มถอดใจว่าโครงการอาจต้องถูกพับไป 


แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว โดยจะเริ่มเปิดให้ประชาชนและร้านค้าลงทะเบียนร่วมโครงการฯ ในไตรมาส 3 และแจกเงินในไตรมาส 4 สร้างความใจฟูให้กับคนที่รอคอย โดยเฉพาะร้านค้าท้องถิ่น และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย


SCB EIC ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคที่คาดว่าจะได้รับสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต (ตามรายละเอียดของโครงการในช่วงครึ่งหลังของปี 2566) ระหว่าง 12 พ.ย.-12 ธ.ค. 2566 โดยสรุปข้อมูลที่น่าสนใจได้ 5 ประเด็น ดังนี้


1. เม็ดเงินส่วนใหญ่จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะหมุนเข้าระบบภายใน 6 เดือน

แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาครัฐจะกำหนดระยะเวลาการใช้จ่ายมากกว่า 6 เดือนก็ตาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 58% จะทยอยใช้เงินโครงการ 10,000 บาท ครบภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้มีรายได้น้อย (รายได้น้อยกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน) หรือกลุ่มผู้สูงอายุ มีแนวโน้มจะทยอยใช้จ่ายเงิน 10,000 บาท ไปจนถึงวันสิ้นสุดโครงการในเดือน เม.ย. 2570 (ตามเงื่อนไขการใช้จ่ายที่ทางการประกาศเมื่อเดือน พ.ย. 2566)

ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ยังไม่ได้ระบุระยะเวลาในการใช้จ่ายเงินของโครงการ ซึ่งหากภาครัฐต้องการให้เงินหมุนเวียนเร็วอย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจต้องกำหนดระยะเวลาการใช้จ่ายให้สั้น เช่น ไม่เกิน 6 เดือน เพื่อกระตุ้นให้ผู้มีสิทธิใช้จ่ายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ

2. Grocery เป็นสินค้าหลักที่จะได้ประโยชน์จากโครงการฯ

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม เกือบ 40% เลือกใช้จ่ายในสินค้า Grocery ขณะที่เล็งใช้จ่ายสินค้าหมวดสุขภาพและร้านอาหารรองลงมา ยกเว้นในกลุ่มผู้มีสิทธิที่เป็น Gen Z มีแนวโน้มนำไปซื้อโทรศัพท์มือถือ ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ มีแนวโน้มนำเงินบางส่วนจากโครงการไปซื้อสินค้าเพื่อแต่ง/ซ่อมบ้านเพิ่มเติมด้วย

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ของแต่งบ้าน และมือถือ คาดว่าได้รับอานิสงส์จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตบ้างจากกลุ่มผู้มีสิทธิฯ ราว 10-17% ที่เลือกใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนติด Top 3 ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทในครั้งเดียว หรือเป็นกลุ่มที่ไม่ลดการใช้จ่าย/เพิ่มการใช้จ่ายเงินส่วนตัว โดยค่อนข้างกระจุกอยู่ในผู้มีสิทธิฯ กลุ่ม Gen Y และ Z รวมถึงผู้มีรายได้มากกว่า 1.5 หมื่นบาท


3. กว่า 80% จะลดการใช้จ่ายเงินส่วนตัวของตัวเอง

หากได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มาใช้จ่ายและนำเงินส่วนตัวไปเก็บออม หรือชำระคืนเงินกู้ ในขณะที่บางส่วนนำเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านการให้ญาติใช้จ่าย/นำไปลงทุนธุรกิจต่อ


4. ร้านค้าท้องถิ่นและร้านสะดวกซื้อ จะเป็นกลุ่มธุรกิจรับประโยชน์จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 40% เลือกใช้จ่ายในร้านค้าท้องถิ่น อีก 26% ใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ และ 7-11 ของประเภทร้านค้าที่เลือกใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่กลุ่มร้านอาหารและร้านขายยาเป็นกลุ่มรองที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการฯ นอกจากนี้ ร้านอุปกรณ์ยานยนต์และร้านอุปกรณ์การเกษตร คาดว่าจะได้อานิสงส์อยู่บ้าง 

โดยผู้มีสิทธิฯ ที่รายได้สูงหรืออยู่ในกรุงเทพฯ/หัวเมืองใหญ่ จะใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์ยานยนต์ ขณะที่ผู้มีสิทธิฯ ในต่างจังหวัด/รายได้น้อย จะเลือกใช้จ่ายในร้านอุปกรณ์การเกษตร

อย่างไรก็ตาม คาดว่าร้านค้าส่ง/ค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากร้านค้าท้องถิ่นขนาดเล็กที่ต้องนำเงินรายได้มาใช้จ่ายต่อไปยังร้านค้าอื่นๆ เช่น การซื้อสินค้าเพื่อสต๊อกสินค้าในร้านค้า 


5. กำหนดพื้นที่ใช้จ่ายตามทะเบียนบ้าน อุปสรรคขวางการใช้เงิน

ผู้ตอบแบบสำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงาน/อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดหัวเมืองใหญ่ รวมถึงกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการ ซึ่งราว 70% ของกลุ่มเหล่านั้น มองว่าการกำหนดพื้นที่ใช้จ่ายเป็นอุปสรรค โดยมีปัญหาหลักๆ มาจากการไม่มีร้านค้าที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการในพื้นที่ที่กำหนด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ