ไม่ใช่เพียงการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างคึกคัก แต่การเติบโตของ มหานคร, ชุมชนเมือง และช่องทางค้าออนไลน์ ที่ช่วยกระตุ้นยอดขายได้ ก็กำลังส่งผลดีต่อภาคค้าปลีกไทยให้เติบโต และแข่งขันรุนแรงขึ้น
ThairathMoney เจาะบทวิเคราะห์ ของวิจัยกรุงศรี พบประเด็นที่น่าสนใจ ภายใต้การคาดการณ์ว่า ปี 2567-2569 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 5-5.5% ขณะเดียวกัน การแข่งขันของธุรกิจส่อแววมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากผู้ประกอบการเดิมและรายใหม่ ทั้งในกลุ่ม ห้างสรรพสินค้า, ดิสเคาน์สโตร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต,ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท เป็นต้น
ความสำคัญ คือ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีมูลค่ารวม 2.8 ล้านล้านบาท ในปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนถึง 15.7% ของ GDP
และเป็นที่รับรู้กันว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นทุนไทยรายใหญ่ มีฐานะกิจการมั่นคง มีศักยภาพและความสามารถในการสร้างรายได้ ซึ่งเป็นผลจากความได้เปรียบด้านขนาด เงินทุน เครือข่ายสาขา และมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น
โดยพบว่า ผู้ประกอบการทุกราย กำลังเดินหน้าขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงใน Community mall และสถานีบริการน้ำมัน หรือในทำเลที่มีหมู่บ้านจำนวนมาก มีการจราจรคับคั่ง ตลอดจนมีการปรับรูปแบบและขนาดของร้านค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่และกลุ่มลูกค้า
ส่งผลให้ปี 2566 จำนวนสาขาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีมากกว่า 20,000 สาขา ซึ่งกว่า 90% เป็นสาขาของร้านสะดวกซื้อ นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าและทำธุรกิจแบบ Online to Offline โดยนำสาขามาเป็นฐานการจัดส่งสินค้าออนไลน์แก่ผู้บริโภคในทำเลใกล้เคียง ทำให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพิ่มขึ้น
เจาะจำนวนสาขาของกลุ่มค้าปลีกเชนสโตร์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ ฟู้ดแลนด์ ขยายโมเดลธุรกิจสู่ร้านสะดวกซื้อ หรือ Foodland Grocerant เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดในรูปแบบร้านค้าขนาดเล็กที่ขยายสาขาเข้าใกล้ชุมชนและหมู่บ้านมากขึ้น ทำให้เข้าถึงกำลังซื้อกลุ่มใหม่
นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งร้านค้าโชห่วยที่ปรับรูปแบบสู่ Low cost convenience store รองรับลูกค้าในชุมชนระดับตำบลและหมู่บ้าน เช่น
อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรี วิเคราะห์ว่า การแข่งขันของธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ค่อนข้างรุนแรง ผลจากสินค้ามีความคล้ายคลึงกัน จำนวนสาขาที่มีมาก และต้องแข่งขันกับธุรกิจการค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากการเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตได้สะดวก
อีกทั้งอาจต้องระวังถึง ปัจจัยกำลังซื้อและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในภาพรวม ที่ยังคงถูกกดดันจากค่าครองชีพ และภาระหนี้ครัวเรือนสูง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนฐานราก
การเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเฉพาะจีน ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาตั้งร้านค้าในย่านมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษาจีน อาทิ ย่านสวนหลวงสแควร์ (ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตหวังจงหวัง) ย่านมหาวิทยาลัยเกริก (มีทั้งมินิมาร์ท และร้านอาหารจีน) และย่านมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (ร้าน Shenzhen Sam Supermarket) รวมถึงสินค้าราคาถูกจากจีน (อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าแฟชั่น อาหาร และเครื่องสำอาง) ซึ่งทำตลาดในไทยผ่านการซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์.
ที่มา : วิจัยกรุงศรี
ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney