ไทยอยู่ตรงไหน? คาดการณ์อีก 7 ปี “เซมิคอนดักเตอร์” โลก แตะล้านล้านดอลลาร์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยอยู่ตรงไหน? คาดการณ์อีก 7 ปี “เซมิคอนดักเตอร์” โลก แตะล้านล้านดอลลาร์

Date Time: 29 มี.ค. 2567 12:04 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ไทยอยู่ตรงไหน? คาดการณ์อีก 7 ปี “เซมิคอนดักเตอร์” โลก แตะล้านล้านดอลลาร์ จีน กระตุ้นอุตสาหกรรมชิปรถ EV ในประเทศ บังคับรายใหญ่-รายเล็ก ต้องใช้ชิปที่ผลิตในจีน ท่ามกลางการตอบโต้ของรัฐบาลสหรัฐฯ กับข้อครหาความปลอดภัย ขณะอินเดีย ตั้งเป้า 5 ปี จะเป็น TOP ของโลก สัปดาห์เดียว เปิดโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ไปแล้ว 3 แห่ง

Latest


เป็นที่รับรู้กันชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเครื่องยนต์หลัก อย่าง การส่งออกไทย กำลังจะแบก “เศรษฐกิจ” ไปต่อไม่ไหว จากปัญหาเชิงโครงสร้าง ขายของเก่า-ไร้ของใหม่-ผลิตแต่สินค้าโลกลืม 

ทำให้ไทยกำลังเผชิญปัญหากับดักรายได้ปานกลาง เศรษฐกิจเติบโตเชื่องช้า สวนทางประเทศเพื่อนบ้าน โดยตัวแปรที่สำคัญ ยังมาจาก สินค้าบ้านเรา ถูก disrupt จากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ที่เป็นสินค้าดาวรุ่งของโลกใหม่ 

ซึ่งว่ากันว่า สิ่งที่จะทำให้เรากระโดดขึ้นมาผงาด ในห่วงโซ่การซื้อ-ขายของโลกได้ คือ ต้องพาตัวเองเข้าไปในอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ชิป ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของเทคโนโลยีที่ทั่วโลกต้องการใช้เพื่อผลิตสินค้าให้ผู้บริโภค, ใช้ในการสื่อสารคมนาคม คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเครื่องมืออุตสาหกรรม ภายใต้รัฐบาลไทย มีภาพฝัน ที่จะดึงดูดการลงทุนอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำดังกล่าวให้มากขึ้น 

BOI ไทย เร่งดึงดูดต่างชาติลงทุน เซมิคอนดักเตอร์ 

ขณะ นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการ BOI ระบุ ไทยนิ่งไม่ได้ เร่งปรับปรุงหลักเกณฑ์ดึงดูดการลงทุนต่างชาติ ในกิจการ กลุ่มแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PCB


ทั้งนี้ PCB เป็นแผงวงจรที่รวบรวมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ เซมิคอนดักเตอร์ (Chip) เข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมการทำงานของชิ้นส่วนและควบคุมระบบต่างๆ ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทุกชนิด ถือเป็นขั้นตอนการผลิตที่มีความสำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 

ที่ผ่านมามีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม PCB แล้วประมาณ 40 บริษัท โดยเฉพาะจากประเทศจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น โดยในปี 2566 มีมูลค่าลงทุนรวมกันกว่า 1 แสนล้านบาท

“การส่งเสริมอุตสาหกรรม PCB ให้ครอบคลุมตลอดซัพพลายเชน ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ เพื่อนำไปสู่การสร้างคลัสเตอร์ PCB ให้เป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ และช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยที่จะสามารถเติบโตไปพร้อมกันด้วย “

ตามการให้ข้อมูลล่าสุด BOI ยังระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ขึ้นมาเป็นฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ของอาเซียน หากไทยสามารถช่วงชิงโอกาสในการสร้างซัพพลายเชนของการผลิต PCB ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจร ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่จะก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในตลาดโลกได้ในอนาคต 

ศึกชิปรถ EV จีน VS สหรัฐฯ

เจาะความเคลื่อนไหวต่างประเทศ ทุกชาติกำลังปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อชิงโอกาสความเป็นหนึ่ง โดยล่าสุด รัฐบาลจีน ออกมากระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หันมาซื้อชิปในประเทศ เพื่อกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการผลิตชิบในประเทศ เติบโตมากขึ้น 

โดยมาตรการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองของจีน ลดการนำเข้าชิปจากชาติตะวันตก และเพื่อสร้างระบบนิเวศธุรกิจที่เกื้อหนุนกัน และเพื่อกดดันให้ผู้ผลิตชิปย้ายฐานมาผลิตในจีนมากขึ้น 

ภายใต้เป้าหมาย จั้งตั้งเป้าให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่รายใหญ่ อย่าง BYD ไปจนถึงรายเล็ก Geely ต้องใช้ชิปที่ผลิตในประเทศ สัดส่วน 1 ใน 5 ของการใช้ชิปในกระบวนการผลิตทั้งหมดภายในปี 68 

อย่างไรก็ดี คำประกาศดังกล่าวของรัฐบาลปักกิ่ง อาจนำไปสู่การเติบโตของรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยข้อหาที่ว่ารถยนต์ที่ผลิตจากจีน มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์สหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลว่า ข้อมูลที่รวบรวมโดยรถยนต์เหล่านี้ อาจตกอยู่ในมือของรัฐบาลจีน และอาจมีแผนการจำกัดการขายรถยนต์เหล่านั้นในสหรัฐฯ ต่อไป 

อินเดีย ตั้งเป้า TOP5 ของโลก 

ด้านประเทศอินเดีย มีรายงานว่า กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปี อินเดียจะเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกของโลก โดยวางตัวเป็นห่วงโซ่คุณค่าที่เชื่อถือได้ สำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ที่ต้องผลิตและออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งอินเดีย มองว่า ประเทศจะได้ประโยชน์จากการที่บริษัทต่างๆ ลดการพึ่งพาจีน จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน 

ทั้งนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อินเดียเปิดโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ไปแล้ว 3 แห่ง โดยหนึ่งในโรงงาน เป็นการร่วมทุนระหว่าง Tata Electronics และ PSMC ของไต้หวัน พร้อมประกาศสร้างชิปเซมิคอนดักเตอร์ตัวแรกของอินเดียภายในปี 69 ซึ่งจะช่วยให้อินเดียสร้างสถานะที่แข็งแกร่ง สำหรับในห่วงโซ่คุณค่าของโลก 

โดยอินเดียคาดการณ์ความเป็นไปได้ ที่ภาคเซมิคอนดักเตอร์ทั้งโลกจะมีมูลค่าหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 7 ปีข้างหน้า  


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์