อนาคตธุรกิจไทย เสี่ยง “ขาดแคลนแรงงาน” คาดอีก 30ปี สัดส่วนวัยทำงานเหลือเพียง50% จากปัญหาสังคมสูงวัย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

อนาคตธุรกิจไทย เสี่ยง “ขาดแคลนแรงงาน” คาดอีก 30ปี สัดส่วนวัยทำงานเหลือเพียง50% จากปัญหาสังคมสูงวัย

Date Time: 8 ก.พ. 2567 09:56 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ อีกไม่ถึง 30 ปี คาดแรงงานไทย อาจเหลือเพียง 50% ต่อประชากรทั้งประเทศ ธุรกิจพึ่งพาคนหนุ่ม-สาว เสี่ยงสูง ต้องนำเข้า แรงงานต่างด้าว และ ใช้เทคโนโลยีทดแทน เมื่อ ไทยกำลัง ก้าว เข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดยอด อย่างรวดเร็ว

Latest


ปัญหา “ขาดแคลนแรงงาน” กำลังน่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย ด้วยคาดการณ์ว่า ราวปี 2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ไทยจะกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกในเอเชียที่เปลี่ยนผ่าน จากสังคมสูงวัยขั้นสมบูรณ์ ไปสู่ คำว่า “สังคมสูงวัยขั้นสุดยอด” 

ซึ่งมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

  • นโยบายคุมกำเนิด และค่านิยมที่คนต้องการมีลูกน้อยลง ส่งผลอัตราการเจริญพันธุ์ของไทย อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก
  • จำนวนเด็กเกิดใหม่ น้อยกว่าคนเสียชีวิต ส่งผลประชากรสูงวัยครองเมือง

ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างประชากรที่ใช้เวลาเปลี่ยนผ่านแค่ 8 ปี ทำให้ภาคธุรกิจมีแนวโน้มเสี่ยง ขาดแคลนแรงงาน สูงขึ้น ภายใต้คาดการณ์ข้างหน้า ว่า ไม่ถึง 30 ปี สัดส่วนแรงงานของไทย ที่มีอายุในช่วง 15-59 ปี ต่อประชากรทั้งหมด จะลดลงจาก 62% ในปี 2566 เหลือเพียงราว 50% ในปี 2593 

5 ธุรกิจ เสี่ยงขาดแรงงาน 

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า การขาดแคลนแรงงานจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงข้างหน้า และจะกระทบต่อธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้แรงงานสูง 5 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้ 

  • เกษตร 31% 
  • ค้าปลีก/ค้าส่ง 17% 
  • การผลิต 16% 
  • โรงแรม/ร้านอาหาร 9%
  • ก่อสร้าง 6% 

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้อาจต้องหันไปพึ่งพาแรงงานต่างด้าวทักษะต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะที่บางธุรกิจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง และ ธุรกิจการผลิต อาจแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี ทั้งการนำหุ่นยนต์/นวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ควบคู่ไปก้บการยกระดับผลิตภาพ/ทักษะแรงงานไทยให้ เท่าทันเทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง 

ประเทศไทย ขาดแรงงานทักษะสูง ต้อง “นำเข้า”

เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดแรงงานไทย ยังเผชิญกับความท้าทาย ด้านคุณภาพแรงงาน ที่ส่วนใหญ่ยังมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงจำนวนแรงงานทักษะสูง ยังไม่เพียงพอ และยังมีสัดส่วนแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลต่ำกว่าอีกหลายประเทศ ส่งผลให้บางธุรกิจ เช่น ธุรกิจไฮเทคต่างๆ ต้องนำเข้าแรงงานกลุ่มนี้ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังชี้ว่า มองไปข้างหน้า การดึงดูดแรงงานข้ามชาติทักษะสูง คงขึ้นอยู่กับว่าไทย สามารถจูงใจ การลงทุนต่างประเทศ และมีนโยบายสนับสนุนการเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เพื่อแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน 

เช่น สิงคโปร์ ที่มีการให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่แรงงานทักษะสูง และส่วนลด/ผลประโยชน์ด้านภาษีแก่ต่างชาติที่เข้ามาลงทุน ขณะจีน ก็มีภาษีอัตราพิเศษให้แก่แรงงานสูง และโครงการดึงดูด Talent จากทั่วโลก เป็นต้น 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์