ส่งออกไทย ปี 66 ติดลบ 1% แม้เดือน ธ.ค. พลิกขยายตัว 4.7% ส่งผล ไทยขาดดุล 5.19 พันล้านเหรียญ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่งออกไทย ปี 66 ติดลบ 1% แม้เดือน ธ.ค. พลิกขยายตัว 4.7% ส่งผล ไทยขาดดุล 5.19 พันล้านเหรียญ

Date Time: 26 ม.ค. 2567 11:31 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • กระทรวงพาณิชย์ เผย การส่งออกไทย ปี 2566 ติดลบ 1% รวมมูลค่า 284,561 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.80 ล้านล้านบาท แม้เดือน ธ.ค. พลิกขยายตัว 4.7% ส่งผลปีที่แล้ว ไทยขาดดุล 5.19 พันล้านเหรียญ แต่แนวโน้มดีกว่าประเทศอื่นๆ ขณะ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยังเป็นคู่ค้าเบอร์ต้นของไทย คาดปีนี้ ส่งออกไทยโตเกือบ 2%

Latest


นับเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตามองมากที่สุด สำหรับ “ภาคการส่งออกไทย”  ปี 2566 ท่ามกลางรอความชัดเจนของ GDP ไทย อย่างแท้จริง ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ โดย “กีรติ รัชโน” ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลง ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย โดย พบว่า ทั้งปี 2566 ส่งออกไทย ติดลบ 1% อยู่ที่ 284,561 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.80 ล้านล้านบาท จากผลกระทบคำสั่งซื้อสินค้าไทย หดตัวหลายเดือน 


แม้เดือน ธ.ค. 2566 มูลค่าการส่งออก จะกลับมาขยายตัวได้มากถึง 4.7% มูลค่า 22,791 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7.95 แสนล้านบาท ส่งผลภาพรวมทั้งปี ประเทศไทย ขาดดุลการค้า อยู่ที่ 5,192 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะทั้งปีมีการนำเข้าอยู่ที่ 289,754 ล้านเหรียญสหรัฐ 

อย่างไรก็ตาม เป็นภาวะที่สอดคล้องกับ การส่งออกของหลายประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกไม่ต่างกัน เช่น 

  • ไต้หวัน -9.8% 
  • เวียดนาม -4.8% 
  • เกาหลีใต้ -7.5% 
  • ญี่ปุ่น -3.9%
  • จีน -4.6%
  • อินเดีย -4.7%
  • ไทย -1%
  • สิงคโปร์ -7.7%
  • อินโดนีเซีย -11.3%
  • มาเลเซีย -11.1%

10 ตลาดส่งออกไทยสูงสุด ปี 66 

ทั้งนี้ ตลาดส่งออก 10 อันดับแรกของไทย ในปีที่ผ่านมา ได้แก่ 

  • อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 2.8%
  • อันดับ 2 จีน ลดลง 0.8%
  • อันดับ 3 ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.1%
  • อันดับ 4 ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 8.2%
  • อันดับ 5 มาเลเซีย ลดลง 6.3%
  • อันดับ 6 เวียดนาม ลดลง 15.6%
  • อันดับ 7 ฮ่องกง เพิ่มขึ้น 10%
  • อันดับ 8 สิงคโปร์ ลดลง 0.4%
  • อันดับ 9 อินเดีย ลดลง 3.9%
  • อันดับ 10 อินโดนีเซีย ลดลง 2.9%


ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกไทยในระยะต่อไป ได้แก่ 1. การเริ่มฟื้นตัวตามวัฏจักรของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรนิกส์, การเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงท้ายปี ถึงต้นปี 2567 จึงส่งผลบวกต่อสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่การผลิต 2. การจำกัดปริมาณส่งออกข้าวของอินเดีย ทำให้ข้าวไทย เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ท่ามกลางการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ 3. การจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง 

ส่วนปัจจัยท้าทาย หากแต่เป็น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง กดดันการลงทุนใหม่ของภาคเอกชน อย่างไรก็ดี คาดปี 2567 ส่งออกไทย จะขยายตัว 1.99% หรือคิดเป็น มูลค่า 10 ล้านล้านบาท

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ