นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.8% ซึ่งปรับลดลงจากเดือน ต.ค. ที่ 2.7% และชะลอลงจากปี 2565 ที่ 2.6%
โดยมีปัจจัยสำคัญจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่หดตัวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 ที่ติดลบ 4.7% ต่อปี โดยเฉพาะสินค้าในหมวดยานยนต์ที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15
ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปี 2566 คาดว่าจะหดตัวที่ 1.5% ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะหดตัวที่ร้อยละ 1.9%
ทั้งนี้ สาเหตุของการปรับลดประมาณการ เนื่องจากคาดว่าในไตรมาสที่ 4/2566 เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 1.4% เมื่อพิจารณากับการขยายตัวเศรษฐกิจใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 2.6%, 2.8% และ 1.5% ตามลำดับนั้น จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไม่ถึง 2%
ในส่วนของค่าเงินบาทในปี 2566 พบว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวน โดยอ่อนค่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 และแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยมาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
โดยปี 2566 คาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.7% จากค่าเฉลี่ยปี 2565 นอกจากนั้นยังพบว่าตลาดหลักทรัพย์ และตลาดพันธบัตรของไทยในปี 2566 ที่ผ่านมามีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดทุนไทยสุทธิ 3.3 แสนล้านบาท เป็นผลจากกระแสเงินทุนสุทธิของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากทั้งตลาดหลักทรัพย์ และตลาดพันธบัตรไทยที่ 1.9 และ 1.4 แสนล้านบาท ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลัง คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 2.8% ต่อปี ซึ่งยังไม่นับรวมผลจากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ลดลงจากประมาณการเดิมในเดือน ต.ค. 2566 ซึ่งอยู่ที่ 3.2% โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่จะขยายตัว 4.2% และภาคการท่องเที่ยว ที่คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 33.5 ล้านคน ขยายตัวที่ 19.5% ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และมาเลเซียเป็นสำคัญ และมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6% ต่อปี ส่งผลดีต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจะขยายตัวที่ 4.0% ต่อปี
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่
ทั้งนี้สำหรับประเด็นข้อสงสัยว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้วิกฤติหรือยัง พรชัย ฐีระเวช ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่วิกฤติ แต่ส่งสัญญาณลบในหลายตัวชี้วัดเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังจะติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2567 อย่างใกล้ชิด หากส่งสัญญาณไม่ดี อาจพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม.