ปีวิกฤติ เอกชน หนี้พุ่ง! คนไทยผ่อนบ้านไม่ไหว-ค้างค่างวด อื้อ แนะ กนง. นัดแรก รีบ “ลดดอกเบี้ย”

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปีวิกฤติ เอกชน หนี้พุ่ง! คนไทยผ่อนบ้านไม่ไหว-ค้างค่างวด อื้อ แนะ กนง. นัดแรก รีบ “ลดดอกเบี้ย”

Date Time: 15 ม.ค. 2567 09:34 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • นักวิชาการ แนะ กนง. รีบลด “ดอกเบี้ย” บรรเทาปัญหาสภาพคล่องคนไทย หวั่นถูกยึดรถ ยึดบ้าน ปิดกิจการเพิ่มมากขึ้น หลังเอกชนอ่วมปัญหาหนี้สิน สะท้อนวิกฤติหุ้นกู้ของรายใหญ่ ขณะเครดิตบูโร เผย ลูกหนี้ค้างค่างวดบ้านพุ่งกว่า 37% ประชากรไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน ถูกดอกเบี้ยสูงเล่นงาน เชื่อ มาจาก สภาพชักหน้าไม่ถึงหลัง

Latest


แต่ละปี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมเพื่อกำหนด “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ของประเทศไทย ปีละ 6 ครั้ง โดยปีนี้การประชุมนัดแรกของ กนง. จะเกิดขึ้นพุธที่ 7 ก.พ. 2567 ก่อนจะมีการเผยแพร่รายงานการประชุมฉบับย่อของ กนง. ออกมาอีกครั้ง ในวันพุธที่ 21 ก.พ. 

ซึ่งกลายเป็นนัดหมายสำคัญที่น่าจับตามองมากที่สุดในเวลานี้ ท่ามกลางประเด็นร้อนทางเศรษฐกิจ และปมขัดแย้งทางความคิดเล็กๆ ระหว่างฟากรัฐบาล และผู้ที่มีหน้าที่ดูแลนโยบายทางด้านการเงินของประเทศ อย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจาก “ดอกเบี้ยเงินกู้” ที่สูงอยู่ในขณะนี้กำลังเป็นภาระน่ากังวลสำหรับคนไทย และดันให้วิกฤติ “หนี้ครัวเรือนไทย” รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

พร้อมกับข้อเรียกร้องให้ กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 2.50% ทันที ในการประชุมนัดแรกเดือน ก.พ.นี้ โดยไม่ต้องรอการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพราะสถานการณ์ฝั่งผู้ประกอบการก็กำลังอ่วมของพิษ “ดอกเบี้ย” เช่นกัน 

แนะ กนง. ลดดอกเบี้ย 

เจาะมุมมองของนักวิชาการ“รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยข้อมูลน่าตกใจและความเห็นว่า ในปีนี้จะเป็นปีวิกฤติของบริษัทเอกชนที่มีสัดส่วนหนี้สูงเมื่อเทียบกับทุน หรือ ลงทุนเกินตัว ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจะช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤติลงได้บ้าง 

เจาะปัญหาหนี้สินคงค้างในตลาดตราสารหนี้ไทยปีที่แล้ว มีมูลค่าคงค้างประมาณ 15.8 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 7.8 ล้านล้านบาท หุ้นกู้เอกชน 4.5 ล้านล้านบาท และอื่นๆ 3.5 ล้านล้านบาท รัฐบาลต้องออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนมาตรการหรือนโยบายที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในปีนี้ 

ขณะที่บริษัทที่มีหนี้สินสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับทุน และมีความต้องการออกหุ้นกู้ชุดใหม่เพื่อ Rollover หนี้เดิม อาจมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในตลาดการเงินมากขึ้น การระดมทุนกู้เงินของรัฐบาลในระบบจะไปแย่งเม็ดเงินภาคเอกชนได้ 

อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพิ่มปริมาณเงินในระบบ ลดอัตราดอกเบี้ย ปัญหาการ Rollover หนี้เดิมจะบรรเทา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงทรงตัวในระดับสูง ผลตอบแทนแท้จริงจากการฝากเงินธนาคารเริ่มเป็นบวก และรายได้แท้จริงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากอัตราเงินเฟ้อต่ำลงและติดลบ 3 เดือนติดต่อกัน แต่เศรษฐกิจยังไม่เผชิญภาวะเงินฝืด (Deflation) เพราะเศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวกอยู่ 

แต่อยู่ในภาวะเงินเฟ้อลดต่ำลงมาก (Disinflation) การทำนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระยะสั้นนั้น จะต้องดำเนินการในลักษณะ “กฎ” มากกว่าการใช้วิจารณาญาณ  

“คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินควรเริ่มพิจารณาว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันหรือไม่ เศรษฐกิจขยายตัวอาจต่ำเป้าหากมาตรการกระตุ้นทางการคลังถูกหักล้างจากดอกเบี้ยสูง " 

คนไทย 25 ล้านคน หนี้สินรุงรัง เพราะดอกเบี้ยสูง 

ดร.อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า จากข้อมูลบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติล่าสุด พบว่า หนี้บ้านมีปัญหาผ่อนไม่ไหว ค้างค่างวดพุ่งกว่า 37% แนวโน้มยอดปฏิเสธสินเชื่อบ้านอาจเพิ่มขึ้น 60% ประชากรไทยประมาณไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน มีภาระหนี้สินรุนแรงขึ้นจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น 

โดยคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายจำเป็น มูลค่าหนี้สินเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หนี้ 2 ใน 3 เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือหนี้เสีย ไม่ใช่การก่อหนี้เพื่อการลงทุน แต่เป็นสภาพชักหน้าไม่ถึงหลัง กู้มาเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ 

ฉะนั้น การที่มีการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาหลายปีต่อเนื่อง ไม่ใช่สาเหตุหลักในการกระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้ สัดส่วนการเป็นหนี้ของภาคครัวเรือนไทยสูงเป็นผลจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำสูง 20% ของไทยเป็นหนี้ในเครดิตบูโรที่มีความเสี่ยงเป็นหนี้เสีย บัญชีหนี้เพื่อการลงทุนทางธุรกิจและสินเชื่อบ้านคิดเป็นเพียง 4% สะท้อนอนาคตปัญหากับดักหนี้ครัวเรือนจะเป็นปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจและภาคการเงินไทย หากดอกเบี้ยขึ้นไปเรื่อยๆ 

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลดได้อย่างน้อย 0.50% 

โดยเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพและยังมีช่องว่างผลผลิตมาก กลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้อยู่ที่ 41 บาท ฉะนั้นค่าแรงงานขั้นต่ำเพียง 300 กว่าบาทต่อวัน ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพแน่นอน ช่องว่างผลผลิตยังสูง หนี้ท่วม มาตรการการเงินและการคลังผ่อนคลายควบคู่กันจำเป็นต่อการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน จึงเห็นควรว่าดอกเบี้ยนโยบาย ปี 2567 อาจลดได้อย่างน้อย 0.50% หากเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมาย 1% 

“การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินของภาคเอกชน และรัฐบาลในตลาดการเงินลดลง ความเสี่ยงของสภาพคล่องของบริษัทที่มีโครงสร้างการเงินอ่อนแอปรับตัวดีขึ้น ภาระหนี้ครัวเรือนบรรเทาลง การผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนลดลง การถูกยึดบ้าน ยึดรถยนต์ และการล้มหรือปิดกิจการลดน้อยลง" 

 

ทั้งนี้ โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าเป้าหมาย 1% นั้นมีความเป็นไปได้สูง หากไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาในตะวันออกกลาง แล้วทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้น อุปสงค์มวลรวมในประเทศยังกระเตื้องขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีสัญญาณของภาวะอุปสงค์ร้อนแรงแต่อย่างใด 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์