กดค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย หลังได้มีการปรับปรุงการคำนวณให้ลดลง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กดค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย หลังได้มีการปรับปรุงการคำนวณให้ลดลง

Date Time: 11 ม.ค. 2567 07:22 น.

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ โฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกพ.มีมติเห็นชอบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ขายปลีกเรียกเก็บสำหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. จำนวน 39.72 สตางค์ (สต.) ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย หลังได้มีการปรับปรุงการคำนวณให้ลดลงตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2566

“เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2566 กกพ.ได้มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีงวด ม.ค.-เม.ย.เท่ากับ 89.55 สต.ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (โครงสร้างการคิดราคา Pool Gas แบบเดิมตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน) ซึ่งต่อมาภาครัฐ เห็นว่าควรมีการปรับปรุงไม่ให้เกิน 4.20 บาทต่อหน่วย จึงได้ปรับปรุงตามมาตรการที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระเงินคงค้างสะสมงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. นี้ 15,963 ล้านบาท แทนประชาชนไปพลางก่อน ส่งผลให้ค่าเอฟทีลดลงได้ 25.37 สต.ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเหลือ 4.43 บาทต่อหน่วย

กกพ.ยังปรับปรุงราคาประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ตลาดจร (Spot LNG )จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 16.9 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อล้านบีทียูเป็น 14.3 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อล้านบีทียู ทำให้ราคา Pool Gas ลดลงจากเดิม 387 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 365 บาทต่อล้านบีทียู ส่งผลให้สามารถลดค่าเอฟทีลงได้ 9.98 สต.ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงเหลือ 4.34 บาทต่อหน่วย และได้ปรับปรุงตามมาตรการปรับราคาก๊าซธรรมชาติเข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ทำให้ราคา Pool Gas ลดลงจาก 365 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 343 บาทต่อล้านบีทียู ส่งผลให้ค่าเอฟทีลดลง 10.01 สต.ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงเหลือ 4.23 บาทต่อหน่วย

“ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้ 3 การไฟฟ้า ตรึงค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. ไว้ที่อัตรา 3.99 บาทต่อหน่วยโดยใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นจาก ครม. 1,950 ล้านบาท และ กฟผ.ยังต้องแบกรับภาระแทนประชาชนในวงเงินกว่า 100,000 ล้านบาท”.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ