Easy E-Receipt เงื่อนไขอย่างไร ช็อป ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 5 หมื่นบาท เช็กร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Easy E-Receipt เงื่อนไขอย่างไร ช็อป ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 5 หมื่นบาท เช็กร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ

Date Time: 7 ม.ค. 2567 09:47 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • เปิดเงื่อนไข Easy E-Receipt มีอะไรบ้าง? รวมทั้งวิธีเช็กร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ ช็อป ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 50,000 บาท เช็กอย่างไร มีวิธีไหนบ้าง? รวมทั้งตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ได้อย่างไร

Latest


หลังจากที่ ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการ Easy E-Receipt เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศช่วงต้นปี 2567 หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 2567 ตามจำนวนจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt นั้น ในครั้งนี้ #ThairathMoney จะพาไปดูเงื่อนไขของ Easy E-Receipt กันว่ามีอะไรบ้าง?

  1. ผู้ใช้สิทธิจะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
  2. กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)

    พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึง
  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่าซื้อยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต   
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

3. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้

  • ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว   
       

4. ค่าซื้อสินค้าและค่าบริการตามข้อ 2 และ 3 เมื่อรวมกันแล้วสามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

วิธีเช็ก “ร้านค้า” ที่เข้าร่วม มาตรการ “Easy E-Receipt”

สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email โดยสามารถค้นหาประเภทกิจการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และชื่อสถานประกอบการหรือชื่อผู้ประกอบการ คลิกที่นี่

ในกรณีร้านค้าที่เข้าร่วม e-Tax Invoice by Time Stamp สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ ที่นี่ โดยสามารถค้นหา เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก และชื่อผู้ประกอบการ 

หรือสามารถสังเกตที่สัญลักษณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งจะมีคำว่า Easy E-Receipt อยู่นั่นเอง

อ้างอิง thaigov วิธีเช็กร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ