“อัตราดอกเบี้ย” ของไทย อาจทรงตัวสูง 2.5% ตลอดทั้งปี 67 คาด “ค่าแรงใหม่” ดันเงินเฟ้อเป็น 2%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“อัตราดอกเบี้ย” ของไทย อาจทรงตัวสูง 2.5% ตลอดทั้งปี 67 คาด “ค่าแรงใหม่” ดันเงินเฟ้อเป็น 2%

Date Time: 4 ม.ค. 2567 14:01 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • วิจัยกรุงศรี คาด “อัตราดอกเบี้ย” ของไทย อาจทรงตัวสูง 2.5% ตลอดทั้งปี 67 เพื่อใช้คุมแนวโน้ม เงินเฟ้อ หลังประเมิน “ค่าแรงใหม่” ดันเงินเฟ้อ จาก 1.3% เป็น 2% ในปีนี้

Latest


ความไม่แน่นอน ในการดำเนินนโยบายเรื่อง “ดอกเบี้ย” ของเฟด หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ช่วงปี 2024 ทำให้ภาคการเงินของหลายประเทศทั่วโลก ยังอยู่บนความเสี่ยงต่อไป เช่นเดียวกับประเทศไทย 

หลังจากสัญญาณที่ส่งออกมาจากการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2023 ที่ผ่านมา ยังไม่มีความแน่ชัดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้จริงหรือไม่?

เพราะสมาชิกหลายรายยังชี้ถึงความจำเป็นที่เฟดยังจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงต่อไป หาก “เงินเฟ้อ” ไม่ได้ลดลงตามเป้าหมาย และมีอีกหลายรายยังกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีกด้วย ถ้าตัวแปรอื่นๆ ไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ 

แต่อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ออกมาคาดการณ์ว่า “ดอกเบี้ยสหรัฐฯ” อาจจะถูกปรับลดลงในช่วงไตรมาสสองปีนี้ ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกคึกคักขึ้น ขณะทิศทางการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐอเมริกาจะทำให้ “ทองคำ” และ “คริปโตเคอร์เรนซี” ยังคงได้รับความสนใจในฐานะสินทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน 

เจาะในการวิเคราะห์ของวิจัยกรุงศรี คาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยและเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของการปรับขึ้นและปรับลด “ดอกเบี้ยนโยบายของไทย”  ปี 2567 โดยคาดว่าการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 

อาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทย ปรับเพิ่มจาก 1.3% ในปี 2566 เป็น 2% ในปี 2567 ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงไว้ที่ 2.5% ตลอดทั้งปี 2567 เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้อยู่ภายในกรอบเป้าหมายและเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มระยะยาว ขณะเดียวกันยังเป็นการรักษา policy space เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีอยู่มากในอนาคต

สำหรับผลการจัดอันดับอัตราเงินเฟ้อ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 กระทรวงพาณิชย์ เพิ่งเผยว่า จากข้อมูลเปรียบเทียบ “เงินเฟ้อ” ทั่วโลก ณ เดือน พ.ย. ปี 2023 พบว่า เงินเฟ้อไทยที่ติดลบ 0.44% ทำให้ไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก ของกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำที่สุด จาก 135 เขตเศรษฐกิจ ที่มีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อออกมา 

ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรี ยังมองว่า แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะมีแนวโน้มปรับดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 3.4% จาก 2.5 %ในปี 2566 แต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดย IMF คาดว่า GDP ของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 จะเติบโตที่ 4.5% ในปี 2567 จาก 4.2% ในปี 2566 สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่อาจกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ได้แก่

  • ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับเพิ่ม 
  • ผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจรุนแรงขึ้น 
  • ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ประชากรสูงวัย 
  • การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงในหลายอุตสาหกรรม 

ปัจจัยภายนอกที่อาจสร้างความเสี่ยงในปี 2567 ได้แก่ 

  • ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบกว่าสองทศวรรษ อาจกดดันเศรษฐกิจและภาคการเงินในประเทศแกนหลักของโลก 
  • การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ท่ามกลางความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ 
  • การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีน 
  • ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงกว้างในระยะต่อไป

ที่มา : วิจัยกรุงศรี 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์