บทเรียน หนี้ครัวเรือนไทย “กองทุนหมู่บ้าน” ตัวอย่างนโยบายที่ล้มเหลว พบเงินกู้ในระบบ ผิดชำระหนี้พุ่ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บทเรียน หนี้ครัวเรือนไทย “กองทุนหมู่บ้าน” ตัวอย่างนโยบายที่ล้มเหลว พบเงินกู้ในระบบ ผิดชำระหนี้พุ่ง

Date Time: 19 ธ.ค. 2566 12:12 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • “กองทุนหมู่บ้าน” ตัวอย่าง ทดลองเทียมทางนโยบายที่ล้มเหลว และ บทเรียน หนี้ครัวเรือนไทย ย้อนงานวิจัยของสถาบันดัง พบ ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หมู่บ้านละล้าน ส่งผล เงินกู้ในระบบพุ่ง-ผิดนัดชำระหนี้สูง สะท้อน ปัญหา ซับซ้อน ยากแก้ไข เมื่อเป้าหมายการใช้เงิน บิดเบี้ยว

Latest


จากกรณี รัฐบาลผลักดัน แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ อย่างต่อเนื่อง ผ่านการเปิดลงทะเบียนแก้หนี้กับรัฐ ซึ่งปรากฏว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 3 สัปดาห์ด้วยกัน มีลูกหนี้มาลงทะเบียนแล้ว ทั้งสิ้น 99,484 คน คิดเป็นมูลหนี้ 5,926 ล้านบาท เพื่อรอให้ กระทรวงมหาดไทย จัดระเบียบข้อมูล และนำไปสู่ การไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ ระหว่างลูกหนี้ และ เจ้าหนี้ อย่างเป็นธรรม 

ล่าสุด “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเผยว่า 1 ในแนวทางสำคัญ ที่จะช่วยเหลือ ลูกหนี้นอกระบบ คือ การเตรียมให้ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ลูกหนี้เครดิตดี ไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน โดยตั้งเป้าหมาย 70% ของผู้ลงทะเบียน 

ทั้งนี้ โครงการแก้หนี้ โดยโยกหนี้นอกระบบ เข้ามาสู่ในระบบ โดยรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ถูกมองจะทำให้ ลูกหนี้มีโอกาสจบวงจรการเป็นหนี้ได้เร็วขึ้น บรรเทา “วิกฤติหนี้ครัวเรือนไทย” อีกทั้ง ยังจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะข้างหน้าอีกด้วย 

เปิดงานวิจัย นโยบายกองทุนหมู่บ้าน

ย้อนไปในอดีต มีหลายๆ โครงการของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้คนไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และหวังแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เพียงแต่แตกต่างกัน ในแง่เป้าหมายของช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ตาม ยังได้สะท้อนว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและน่ากังวลอย่างมาก สำหรับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น

  • มาตรการพักหนี้เกษตรกร
  • ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชน
  • กองทุนหมู่บ้าน 

เจาะโครงการโด่งดังในอดีต อย่าง “กองทุนหมู่บ้าน” นโยบายประชานิยมเพื่อแก้ความยากจน ในตำนาน ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2544 ด้วยความตั้งใจของรัฐบาล เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ ประชาชน กู้ยืมเงินไปสร้างงานและรายได้ ทำให้ นโยบายนี้ ได้รับความชื่นชมจากประชาชนในระดับรากแก้วมากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย 

แต่ปัจจุบัน หากเราพูดถึงนโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” กลับมองต่างออกไป และนับว่า นี่เป็น 1 ในผลผลิตของ นโยบายที่ผิดทิศผิดทาง เรื่องหนึ่งของรัฐบาลไทยอีกทั้ง เป็นตัวอย่างของนโยบายรัฐ ที่สามารถนำมาตกผลึกปัญหา ‘หนี้ครัวเรือนไทย’ และสะท้อนถึง ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือน (เช่น การบริโภค การออม การลงทุน) และสภาพสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ค่าแรง ดอกเบี้ยเงินกู้ ได้อย่างดี เช่นกัน 

ข้อมูลวิจัย ของ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เผยแพร่ไว้ ว่า นโยบาย “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” เป็นนโยบายของภาครัฐที่ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการ Microfinance ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ดำเนินการโดยภาครัฐ 

แท้จริง กองทุนหมู่บ้านมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิกของหมู่บ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านจะได้รับเงินทุนจำนวนเท่ากัน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ไม่ว่าจะมีจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านมากน้อยเพียงใด (รวมเป็นเงินมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท ในปี 2544 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการ) ซึ่งประมาณ 3 ใน 4 ของครัวเรือนในหมู่บ้านได้รับสินเชื่อจากโครงการดังกล่าว 

กองทุนปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ พบในระยะยาว ผิดชำระหนี้

อย่างไรก็ตาม ผลของกองทุนหมู่บ้าน แม้จะช่วยให้ครัวเรือนมีระดับการบริโภคที่สูงขึ้น แต่ไม่สามารถนำมาการเพิ่มรายได้ระยะยาวให้กับผู้กู้ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ผิดเพี้ยน 

ผลการศึกษาของ Kaboski and Townsend (2012) พบว่า โครงการกองทุนหมู่บ้านมีผลทำให้อัตราการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยเหตุผลหลักในการกู้ยืมคือเพื่อการบริโภค และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ การบริโภคของครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่าขนาดของสินเชื่อ (credit) ที่เพิ่มขึ้นในหมู่บ้าน 

กล่าวคือ ทุกๆ 10,000 บาทของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้นประมาณ 17,100 บาท โดยการบริโภคที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ แม้การเพิ่มขึ้นของการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย (เช่น เนื้อสัตว์ สุรา ยาสูบ) จะพอมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก

แต่ความคาดหวัง ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงการกองทุนหมู่บ้าน คือ การลงทุนด้านธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งงานศึกษาข้างต้นไม่พบว่า จำนวนของธุรกิจเกิดใหม่ จำนวนเงินที่ลงทุนทำธุรกิจ (ทั้งจากธุรกิจค้าขาย และการเกษตร) จำนวนเงินในการซื้อปัจจัยการผลิตในการเกษตร และความน่าจะเป็นในการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด 

แสดงให้เห็นว่าสินเชื่อจากโครงการฯ ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อครัวเรือนที่กู้ยืมเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อค่าจ้างแรงงานด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบทางดุลยภาพทั่วไป ที่น่าสนใจคือ ในงานวิจัยชิ้นนี้กลับไม่พบว่ารายได้จากธุรกิจและรายได้แรงงานในครัวเรือนที่มีผู้หญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด 

นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบว่า ในระยะยาว (6 ปีหลังจากมีกองทุนฯ) กองทุนหมู่บ้านส่งผลให้ปริมาณเงินกู้ในระบบเพิ่มสูงขึ้น การผิดนัดชำระหนี้ของครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวอีกด้วย  

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เราเข้าใจได้ว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะหนี้ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้ และไปอยู่กับกลุ่มผู้กู้ที่มีปัญหาด้านความสามารถในการจ่ายคืนหนี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์