Quick Win เสริมแกร่ง SMEs เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

Quick Win เสริมแกร่ง SMEs เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

Date Time: 7 ธ.ค. 2566 06:30 น.

Summary

  • “เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในอาการป่วย แต่ยังไม่ตาย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเข้าขั้นวิกฤติ” เป็นคำยืนยันจากคุณบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economic บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

“เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในอาการป่วย แต่ยังไม่ตาย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเข้าขั้นวิกฤติ” เป็นคำยืนยันจากคุณบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economic บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หลังเป็นข้อถกเถียงระหว่างฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะนายกฯเศรษฐา ทวีสิน ที่พยายามตอกย้ำว่าเศรษฐกิจไทยวิกฤติหนัก ต้องได้รับการอัดฉีดจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่ใช้วงเงินรวมกว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่พรรคฝ่ายค้านและนักเศรษฐศาสตร์มองว่ายังไม่วิกฤติถึงขั้นนั้น ควรนำเงินจำนวนมหาศาลนี้ไปใช้สร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้มากกว่า

คุณบุรินทร์ยังสำทับอีกว่า เห็นถึงปัญหา และได้รับการเตือนเพื่อรับมือมานาน แต่ไม่ได้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง กระทั่งปัจจุบันเครื่องจักร เศรษฐกิจพัง ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ไม่ฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราต่ำ “นโยบายในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ค่อยได้เข้าไปแก้หรือแตะ เพราะไม่เห็นผลทันที เช่น นโยบายด้านการศึกษา ทำวันนี้จะเห็นผลใน 15-20 ปีข้างหน้า ฉะนั้นก็จะไม่มีใครทำ”

ชัดเจนมั้ยครับ ท่านนายกฯและรัฐบาล ที่กำลังเร่งรังสรรค์ผลงานใช้เงินหว่านกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Helicopter money ซึ่งประโยชน์โพดผลล้วนแต่ตกไปอยู่กับทุนใหญ่ ถ้าอยากจะให้ นโยบายควิกวิน (Quick Win) สำเร็จตามมอตโต้ที่พรรคเพื่อไทยหาเสียง “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส” ก็ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากอย่างกลุ่มธุรกิจ SMEs แข็งแกร่ง กลายเป็นเครื่องยนต์หนุนทางเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง

ซึ่ง คุณนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ ที่กำกับดูแลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มอบภารกิจ Quick Win 3 ด้าน นำร่องไปก่อนหน้านี้ คือ 1.จัดงานแสดงสินค้าและบริการให้กลุ่มธุรกิจ SMEs สร้างโอกาสทางการค้า สร้างความรู้ในการทำธุรกิจพร้อมสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้ธุรกิจมีสายพานเดินต่อไปได้ กำหนดจัดงานต้นปี 2567 ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาคเร่งภาคการค้าของ SMEs สร้างมูลค่าการตลาดให้ได้ 40% ของจีดีพี ภายในปี 2570

มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ จัดโครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow 2024 พาแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนาแล้วไปออกงานพบปะลูกค้า รวมถึงการขายแฟรนไชส์ในราคาพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการสร้างงาน สร้างอาชีพ จะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปพร้อมกันทั่วประเทศ และผลักดันผู้ที่สนใจทำธุรกิจ สามารถเข้าถึงระบบ DBDs e-Learning เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ธุรกิจ และเพื่อนคู่คิดให้กับ SMEs พัฒนาทักษะอย่างมืออาชีพ

2.พัฒนาเทคโนโลยีระบบจดทะเบียนนิติบุคคล เร่งรัดเปิดให้บริการระบบจดทะเบียนบริษัทมหาชนฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-PCL ที่สมบูรณ์ทั้งระบบ ช่วยลดต้นทุนของธุรกิจได้ 100% ส่วนการรองรับการให้บริการข้อมูลดิจิทัลในอนาคต ต้องวางแผนพัฒนาระบบ e-Form เพื่อให้บริการออนไลน์ต่อเนื่อง จะทำให้การดำเนินธุรกิจมีความรวดเร็วมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจและประชาชนที่ใช้บริการ

3.ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมของหอการค้า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ รวมถึงประชาชนไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอตรวจ คัด หรือรับรองเอกสารอีกต่อไป

เมื่อเร็วๆนี้ คุณนภินทรเพิ่งเปิดตัวแพลตฟอร์ม ITD Expert Anywhere จัดทำโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เพื่อเติมโอกาส Knowledge Token ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการส่งออก เสมือนที่ปรึกษาส่วนตัวให้กับผู้ประกอบการ สามารถขอรับคำปรึกษาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้ประกอบการ และวันที่ 13 ธ.ค. จะมีการแถลงข่าวนโยบายภาพรวมใหญ่ในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ SMEs คงจะมีรายละเอียดที่เห็นชัดเจนขึ้น ที่สำคัญหวังว่ารัฐบาลภายใต้การนำของคุณเศรษฐา จะช่วยเหลือขับเคลื่อนภาคธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็กจริงจังขึ้น.

เพลิงสุริยะ

คลิกอ่านคอลัมน์ “หมายเหตุประเทศไทย” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ