ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ล่าสุดสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยยังคงน่ากังวล ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสหนึ่ง 2566 อยู่ที่ 90.6% ต่อจีดีพี หรือ 15.9 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% จากปี 2565 ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตการณ์โควิดปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 84.1% การขยายตัวของสัดส่วนหนี้ เป็นผลมาจากคนทุกกลุ่มอายุมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 และหลังโควิดครัวเรือนมีการก่อหนี้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการอุปโภค บริโภคส่วนบุคคลมากขึ้น
เมื่อมาดูรายละเอียดของหนี้เสีย อ้างอิงข้อมูลจากบริษัท เครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร ซึ่งข้อมูลครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตของหนี้เสียตามกลุ่มอายุล่าสุด ระหว่างปี 2562 และปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 พบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
มีปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงโควิด-19 โดยมีมูลค่าหนี้เสียอยู่ที่ 92,868 ล้านบาทในปี 2565 สูงกว่าปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 83,094 ล้านบาท และมีการขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เฉลี่ย 4.1% ต่อปี แม้ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเปราะบางของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่รายได้อาจยังไม่ฟื้นตัว
นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นหนี้เสียในสินเชื่อรถยนต์สูงที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนบัญชีที่ผิดนัดชำระน้อยกว่า 3 เดือน (SML) ต่อสินเชื่อรวมสูงที่สุด เมื่อเทียบกับอายุอื่น ถึง 9.5 หมื่นบัญชี หรือกล่าวได้ว่ามีจำนวนรถยนต์ที่เสี่ยงถูกยึดกว่า 9.5 หมื่นคัน
คนกลุ่มนี้หลังโควิด-19 มีการก่อหนี้เสียน้อยลงเล็กน้อย โดยปี 2565 มีการก่อหนี้เสียอยู่ที่ 258,143 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 260,107 ล้านบาท โดยกลุ่มอายุ 30-39 ปี เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้รถยนต์มากที่สุดในปี 2565 และมีการขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เฉลี่ย -0.1% ต่อปี
คนกลุ่มนี้หลังโควิด-19 มีการก่อหนี้เสียน้อยลง โดยปี 2565 มีการก่อหนี้เสียอยู่ที่ 298,197 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 309,197 ล้านบาท แต่ก็ยังมีมูลค่าหนี้เสีย และสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมสูงที่สุดที่ 7.6% ในปี 2565 และมีการขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เฉลี่ย -1.0% ต่อปี
คนกลุ่มนี้ช่วงโควิด-19 มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปี 2565 มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 216,122 ล้านบาท จาก 209,474 ล้านบาท ในปี 2562 แต่เป็นหนี้อื่นๆ เช่น หนี้เพื่อประกอบธุรกิจการเกษตร หนี้เช่าซื้อมอเตอร์ไซด์ และหนี้ที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มอื่นๆ โดยเป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้ประเภทนี้คิดเป็นมูลค่าสูงที่สุด
นอกจากนี้ Baby boomer ยังเป็นกลุ่มที่มีทักษะทางการเงินน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวัยอื่น กว่า 55.3% มีความรู้ทางการเงินในระดับต่ำ ทำให้คนกลุ่มนี้มีการขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เฉลี่ย 1.4% ต่อปี
คนกลุ่มนี้นอกจากมีทักษะทางการเงินน้อยเมื่อเทียบกับวัยอื่นแล้ว ยังมีการขยายตัวของมูลค่าหนี้สูงที่สุดอีกด้วย เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ยังพบว่า หลังโควิด-19 มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 116,463 ล้านบาทในปี 2565 จากปี 2562 ที่มีมูลค่าหนี้เสียอยู่ที่ 90,124 ล้านบาท
ทำให้คนกลุ่มนี้มีการขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เฉลี่ย 10.2% ต่อปี และมีสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 8.6% ในปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียในสินเชื่อส่วนบุคคลและรถยนต์ สิ่งที่น่ากังวลสำหรับคนกลุ่มนี้คือ มีโอกาสแก้หนี้ได้ยากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่หารายได้ได้ลดลง