คาดรายได้ รพ.เอกชน ปี 67 เหลือ 5.7 หมื่นล้าน คนไข้ต่างชาติไม่โต “ปรับค่าแรง” ช่วยกระตุ้นตลาด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คาดรายได้ รพ.เอกชน ปี 67 เหลือ 5.7 หมื่นล้าน คนไข้ต่างชาติไม่โต “ปรับค่าแรง” ช่วยกระตุ้นตลาด

Date Time: 30 ต.ค. 2566 13:35 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองรายได้คนไข้ต่างชาติ ปี 67 ของโรงพยาบาลเอกชนใน SET เติบโตชะลอลง คาดอยู่ที่ 5.7 หมื่นล้าน ขยายตัวราว 8.0-10.0% ขณะที่คนไข้ Fly-in ยังเป็นกลุ่มตะวันออกกลาง อาเซียนที่มีศักยภาพ รวมถึงติดตามการกลับมาของคนไข้จีน ส่วนตลาดคนไข้ EXPAT มีโอกาสเติบโตได้ในพื้นที่เศรษฐกิจ โรคซับซ้อน ศัลยกรรมความงามของคนรุ่นใหม่ รักษาผู้มีบุตรยาก ยังคงเป็นความต้องการเบอร์ต้นๆ

Latest


สิ่งที่ “ไทย” ไม่เป็นสองรองใคร นอกจากจะเป็นประเทศท่องเที่ยวยอดนิยมแล้วนั้น “การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์” (Medical Tourism) ก็นับว่าไทยได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเดินทางมาท่องเที่ยวทั่วไป แต่กระนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกลับมองว่า ช่วงท่ีเหลือของปี 66 ต่อเนื่องปี 67 รายได้คนไข้ต่างชาติรวมของโรงพยาบาลเอกชนใน SET จะเติบโตชะลอลงจากการปรับฐาน และยังต้องติดตามปัจจัยท่ีมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางของคนไข้อย่างใกล้ชิด

รายได้คนไข้ต่างชาติรวม อาจเติบโตชะลอลง ปี 67 อยู่ที่ 5.7 หมื่นล้าน

ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ต่อเนื่องถึงปี 2567 รายได้คนไข้ต่างชาติ ซึ่งรวมคนไข้ต่างชาติที่ทํางานในไทย (EXPAT) และคนไข้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามารับการรักษา (Fly-in) ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน น่าจะเติบโตชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลของการทยอยปรับฐานสู่สถานการณ์ก่อนโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว กระทบต่อกําลังซื้อของคนไข้ต่างชาติบางส่วน เช่น เศรษฐกิจจีน ที่แม้ว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 จะเติบโตได้ที่ 5.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ในช่วงที่เหลือของปียังมีปัจจัยกดดันให้ฟื้นตัวได้จํากัด

ต้องติดตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก-ความขัดแย้งระหว่างประเทศ 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า รายได้คนไข้ต่างชาติรวมของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2567 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราว 8.0-10.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เติบโตชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2565-2566 ที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งเป็นการปรับฐานสู่สถานการณ์ก่อนโควิด-19 ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประกอบกับนโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้และจํานวนคนไข้ต่างชาติในปี 2567

คนไข้ Fly-in รายได้ 49% ส่วนคนไข้ EXPAT อยู่ที่ 51%

ส่วนทางด้านรายได้จากคนไข้ Fly-in มีแนวโน้มที่จะทยอยฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีสัดส่วนรายได้ในปี 2567 ราว 49% ของรายได้คนไข้ต่างชาติรวม ขณะที่สัดส่วนรายได้คนไข้ EXPAT จะอยู่ที่ 51% ของรายได้คนไข้ต่างชาติรวม ทั้งนี้ ตลาดคนไข้ Fly-in หลัก ยังเป็นกลุ่มตะวันออกกลาง และอาเซียนที่มีศักยภาพ รวมถึงต้องติดตามการกลับมาของคนไข้จีน ส่วนตลาดคนไข้ EXPAT มีโอกาสเติบโตได้ในพื้นที่เศรษฐกิจ

จํานวนคนไข้ต่างชาติจะอยู่ที่ราว 3.07 ล้านคน/ครั้ง 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จํานวนคนไข้ต่างชาติจะอยู่ที่ราว 3.07 ล้านคน/ครั้ง ซึ่งทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงโควิด-19 แต่ยังให้ภาพการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากยังมีปัจจัยกดดันกําลังซื้อและการตัดสินใจเดินทาง

ตลาดคนไข้ Fly-in ในปี 2567 ยังมีคนไข้หลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  1. ชาวตะวันออกกลาง ที่มีความจําเป็นทางการแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มใช้บริการการแพทย์เฉพาะทาง และการแพทย์เชิงป้องกันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลเอกชนมีความร่วมมือส่งต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลในต่างประเทศ เช่น คูเวต ซึ่งจะทําให้ธุรกิจมีรายได้จากคนไข้กลุ่มนี้ต่อเนื่องในระยะข้างหน้า

  2. คนไข้ในอาเซียน นอกจากชาวกัมพูชาและเมียนมากลุ่มที่มีกําลังซื้อแล้ว ยังมีคนไข้เวียดนามและอินโดนีเซีย ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ และระบบสาธารณสุขในประเทศดังกล่าวยังไม่ทั่วถึง ทําให้คนไข้ที่มีกําลังซื้อ ไปรับการรักษาในมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย ซึ่งไทยมีโอกาสขยายตลาดคนไข้จากประเทศอาเซียนเหล่านี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคซับซ้อนและเทรนด์ด้านการศัลยกรรมความงามของคนรุ่นใหม่ 

สําหรับการกลับมาของคนไข้จีน และเพิ่มโอกาสการรักษาพยาบาลจากนักท่องเที่ยวจีนนั้น ยังต้องติดตามประเด็นความเชื่อมั่นในการเดินทางและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ที่อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ โดยคนไข้จีนส่วนใหญ่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพ การรักษาภาวะมีบุตรยาก และมีความต้องการบริการศัลยกรรมความงาม และการแพทย์ชะลอวัยมากขึ้น


ค่าแรงขั้นต่ำของภาครัฐ มีผลต่อจํานวนคนไข้ EXPAT

ส่วนคนไข้ EXPAT เดินทางกลับเข้ามาหลังโควิด-19 คลี่คลาย และมีโอกาสเติบโตในพื้นที่เศรษฐกิจ อย่างชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลของนโยบายดึงดูดการลงทุน และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาครัฐ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของธุรกิจต่างชาติ และส่งผลต่อจํานวนคนไข้ EXPAT ในอนาคต โดยเฉพาะประเทศหลักๆ อย่างจีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ที่มีเม็ดเงินขอรับการส่งเสริมการลงทุน จาก BOI มากที่สุดเป็น 3 ลําดับแรก ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ซึ่งอาจทําให้มีบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามา ทํางานเพิ่มขึ้นได้ในระยะข้างหน้า

ผู้เล่นหน้าใหม่ แข่งขันโรงพยาบาลเอกชนคับคั่ง

  1. การแข่งขันของธุรกิจในประเทศที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งมีทั้งผู้เล่นเดิมในธุรกิจสุขภาพ เช่น คลินิกเสริมความงาม คลินิกกายภาพบําบัด สปา ที่ขยายบริการทางการแพทย์บางประเภท ไปทับซ้อนกับโรงพยาบาลเอกชน และมีผู้เล่นใหม่อย่าง ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แตกไลน์มาสู่บริการทางการแพทย์และให้บริการ อํานวยความสะดวกครบวงจร เช่น ที่พักสําหรับครอบครัวผู้ป่วยใกล้โรงพยาบาล นอกจากนี้ มีการแข่งขันกับ Medical Hub ในภูมิภาคอย่าง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีความก้าวหน้าทางการแพทย์สูง อย่างไรก็ตาม ไทยก็มีการยกระดับบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีจํานวนสถานพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานจาก Joint Commission International 61 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน อีกทั้งมีข้อได้เปรียบด้าน ค่ารักษาพยาบาลที่แข่งขันได้

  2. การบริหารจัดการต้นทุนการดําเนินงานที่ยั่งยืนสูง ซึ่งเมื่อพิจารณาต้นทุนการดําเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า ในช่วงปี 2565 จนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 75-85% ของรายได้จากการดําเนินงาน ปรับลดลงจากปี 2564 แต่ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 เล็กน้อย ทําให้ธุรกิจยังต้องมีแผนการดําเนินงานจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นหากมองไปข้างหน้า สัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ของโรงพยาบาลเอกชนกลุ่มที่มีคนไข้ต่างชาติ คนไข้ไทยกําลังซื้อสูง และกลุ่มที่มีโรงพยาบาลในเครือหลายสาขา น่าจะมีแนวโน้มลดลง จากอานิสงส์การทยอยฟื้นตัวของรายได้คนไข้ต่างชาติ และสะท้อนถึงความยืดหยุ่นในการบริหารต้นทุน ขณะที่โรงพยาบาลที่เน้นคนไข้ไทยกําลังซื้อปานกลาง

และโรงพยาบาล Stand-alone จะมีความท้าทายในการจัดการต้นทุน เนื่องจากกําลังซื้อของคนไข้บางส่วน อาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น ท่ามกลางปัจจัยกดดันหลายด้าน ผู้ประกอบการคงจะยังให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน เพื่อรักษาความสามารถการทํากําไรของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่ตลาดคนไข้ต่างชาติในไทย จะเติบโตเพิ่มขึ้นเหมือนดังเช่นในปีที่ผ่านๆ มา 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์