เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน? เมื่อโลกเผชิญ "ดอกเบี้ยสูง" จับตา มาตรการ Quick Win ของรัฐบาล ปัง หรือ แป้ก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน? เมื่อโลกเผชิญ "ดอกเบี้ยสูง" จับตา มาตรการ Quick Win ของรัฐบาล ปัง หรือ แป้ก

Date Time: 6 ต.ค. 2566 14:03 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Latest


ต้องยอมรับว่า “เศรษฐกิจไทย” หรือ GDP ไทย ในครึ่งปีแรก เราขยายตัวได้เพียง 2.2% เท่านั้น ก็เนื่องมาจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะ จากปัจจัย “ดอกเบี้ย” สูงรุนแรง หลายประเทศทั่วโลก กระทบการค้า การส่งออก ขณะแนวโน้มเช่นนี้ น่าจะลากยาว ตลอดทั้งปี 2566 

ในภาวะแบบนี้ “นโยบายของภาครัฐ” มาตรการสารพัดสิ่ง ที่ถูกเรียกว่า Quick Win ทั้ง Free Visa, มาตรการพักหนี้เกษตรกร, ลดราคาน้ำมัน และ ประกาศ เดินหน้าแจกเงินดิจิทัล จึงถูกเรียกมาใช้ หวังเป็นเครื่องยนต์หลัก ในการพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งหมด จะปัง หรือ แป้ก ยังต้องคอยลุ้นติดตาม...

"เศรษฐกิจโลก" โตช้าสุดในรอบ 15 ปี 

เบื้องต้น ชวนหาคำตอบกันก่อน ว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจโลก กำลังเจออะไร? จนว่ากันว่า อาจไม่รอดพ้นจากคำว่า “ถดถอย” 

ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS ระบุ ปีนี้ โลก เติบโตได้จำกัด มาจาก แนวโน้มเศรษฐกิจจีน และ ยุโรป ขยายตัวต่ำ 

โดย OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) ประเมินล่าสุด ว่า GDP ของโลกในปี 2023 จะเติบโตได้ประมาณ 3% เท่านั้น 

ซึ่งหากไม่นับช่วงวิกฤติ โควิดในปี 2563 แล้ว ถือว่าเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุด ตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกเมื่อ 15 ปีก่อน

การเงิน-การค้าโลก ป่วน เพราะ “ดอกเบี้ยสูง”

การเติบโตของเศรษฐกิจโลกนั้น ยังมาจากเรื่องใหญ่ จากภาวะการเงินที่ตึงตัว เพราะ “อัตราดอกเบี้ย” ทรงตัวในระดับสูง เป็นเวลา

พบจากรายงานของ EIU เดือน ก.ย. ระบุว่าธนาคารกลาง หลักอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูง โดยเฉพาะเฟด และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่คาดว่า จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย ก็คงช่วงกลางปี 2567 ไปแล้ว 

ซึ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศหลักที่อ่อนแรงลง กดดันกำลังซื้อในตลาดโลก ล่าสุด Oxford Economics ประเมินในเดือน ก.ย. ว่า การค้าระหว่างประเทศมี แนวโน้มหดตัวต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 โดยคาดว่าปริมาณการค้าโลกในปีนี้จะหดตัว 1.5% ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวได้ 2.3% 

ปัจจัยบวก/ปัจจัยลบ “เศรษฐกิจไทย”

จากสถานการณ์ข้างต้น ในมุมมอง ของ Krungthai COMPASS คาดว่า GDP ไทย ปีนี้จะขยายตัวได้แค่ 3% จากเดิมมองไว้ 3.4%   

สรุป ปัจจัยลบ ได้แก่

  • เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวต่ำ กระทบต่อการส่งออก-การลงทุน
  • การเบิกจ่ายงบประมาณ 2567 ล่าช้า ทำให้ การใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนชะลอลง ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตภาคเกษตรลดลง อีกทั้งกำไรยังถูกกดดันจากต้นทุนที่สูง เช่น ต้นทุนการผลิต และอัตราดอกเบี้ย
  • การขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะที่เพิ่มข้ึนจากการดำเนินนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

ส่วนปัจจัยบวก ได้แก่...

  • การท่องเที่ยวฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติ เติบโตเพิ่มขึ้น 
  • การจ้างงานปรับดีขึ้น โดยเฉพาะ ภาคบริการ ทำให้ กำลังซื้อ ในประเทศ กลุ่มใหญ่ ฟื้นตัว
  • นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพ 


จับตานโยบาย Quick Win ของรัฐบาล

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงตัวพยุงเศรษฐกิจสำคัญ ที่รัฐบาลผลักดัน และทยอยออกมาใช้ ในชุด Quick Win เพื่อหวังลดเงินเฟ้อ และ ค่าครองชีพของประชาชนนั้น ประกอบไปด้วย 

  • ปรับลดค่าไฟฟ้าเหลือ 3.99 บาท/หน่วย งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 66
  • ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 2 บาท เหลือ 29.94 บาท/ลิตร มีผล 20 ก.ย.-31 ธ.ค. 66
    วีซ่าฟรีสำหรับนักท่องเที่ยว (จีนและคาซัคสถาน) (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 ก.ย. 66)
  • แจกเงินผ่าน Digital Wallet 10,000 บาท (คาดมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.พ. 67)
  • ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทในปี 2567 และปรับเป็น 600 บาทภายใน 2570 (คาดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67)
  • พักหนี้ 3 ปี เกษตรกร SMEs

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วย GDP ปีนี้ ได้หรือไม่?

Krungthai COMPASS ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจโลก จะไม่สดใส แต่คาดว่า ด้วยมาตรการ Quick Win ของรัฐบาล จะช่วยประคองเศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้ โดยจะเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็น high season ของภาคการท่องเที่ยว 

โดยเฉพาะผลจากการออกนโยบาย Free Visa หรือ มาตรการยกเว้นวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยว สัญชาติจีน ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 66 ถึง 29 ก.พ. 67 เป็นระยะเวลา 5 เดือน คาดว่า จะช่วยให้นักท่องเที่ยวชาวจีน เดินทางเข้ามาไทยเพิ่มข้ึนประมาณ 5 แสนคนในปี 2566 และ 4 แสนคนในปี 2567 ซึ่งจะช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจได้ถึง 4.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.2% ของ GDP ขณะ ภาพรวม คาดปีนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มข้ึน แตะระดับ 29.5 ล้านคน ช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน ให้มีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะข้างหน้า

ส่วนนโยบาย ลดราคาพลังงานจะสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพ ของผู้บริโภคและต้นทุนของภาคธุรกิจได้เช่นกัน จากราว 45% ของภาระ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มข้ึนมาจากราคาพลังงาน

ล้วงลึกผลลัพธ์ นโยบาย “แจกเงินดิจิทัล” 

นโยบายกระเป๋า เงินดิจิทัล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567 มูลค่า ประมาณ 5.6 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3.2% ของ GDP ผ่านการแจกเงินคนละ 1 หมื่นบาท เพื่อใช้ซื้อสินค้าในร้านค้าที่มีรัศมีใกล้บ้านมองผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้น ยังมีความไม่แน่นอน

โดยเฉพาะในแง่ ของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ส่วนหนึ่งอาจเป็น ผลจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เป็นระบบหลัก ของธุรกรรม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งบางส่วนยัง ไม่คุ้นเคย และอาจขลุกขลักได้ในระยะเริ่มแรก

สำหรับผลกระทบ จากมาตรการนี้ต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม จะต้อง ประเมินจากผลของตัวคูณทวีทางการคลัง (Fiscal Multiplier) จากการจับจ่ายใช้สอยที่ถูกกระตุ้นใน การหมุนเวียนเม็ดเงินตามกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา เมื่อนำมาใช้จริงอีกครั้ง 

เชื่อเศรษฐกิจไทยปี 2567 ดีขึ้น 

อย่างไรเสีย ประเมินว่า ในปี 2567 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ประมาณ 4.6% โดยภาคการท่องเที่ยวจะยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวสู่ภาวะปกติมากขึ้น อันจะช่วยหนุนการจ้างงานและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนให้มีแนวโน้มขยายตัวต่อไป ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะเป็นแรงบวกเพิ่มเติมที่สนับสนุนให้ GDP สามารถเติบโตต่อเนื่องในปีหน้าได้ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ