เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% กันเงินเฟ้อจ่อพุ่ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% กันเงินเฟ้อจ่อพุ่ง

Date Time: 3 ส.ค. 2566 06:10 น.

Summary

  • กนง.ยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่ออีก 0.25% ชี้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่อาจจะพุ่งขึ้นรอบใหม่ ในช่วงปลายปี และปีหน้า คาดส่งออกกลับมาฟื้นได้ในระยะต่อไปท่องเที่ยวดี เอญนีโญและหมดมาตรการช่วยค่าไฟเป็นแรงหนุน

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

กนง.ยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่ออีก 0.25% ชี้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่อาจจะพุ่งขึ้นรอบใหม่ ในช่วงปลายปี และปีหน้า คาดส่งออกกลับมาฟื้นได้ในระยะต่อไปท่องเที่ยวดี เอญนีโญและหมดมาตรการช่วยค่าไฟเป็นแรงหนุน ระบุ ดอกเบี้ยนโยบายใกล้เข้าสู่จุดเหมาะสมแล้ว ส่วนครั้งต่อไปอาจจะคงดอกเบี้ย หรือขึ้นต่อ ยังต้องลุ้นดูข้อมูลจนเฮือกสุดท้าย

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 4/2566 ว่า กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ต่อปี จาก 2.00% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยตัวเลขส่งออกล่าสุดชะลอลงบ้าง แต่คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงและมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมายโดยยังมีความเสี่ยงด้านสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ จากภาคการท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง หรือสูงกว่าที่ ธปท.คาดไว้ รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนยังดีต่อเนื่อง

ดังนั้น กนง.จึงเห็นว่าควรจะมองทะลุความผันผวนระยะสั้น เงินเฟ้อจะลดลงในช่วง 2-3 เดือนนี้ เพราะช่วงปลายปี และปีหน้าอาจจะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้นโยบายการเงินควรดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาวโดยการป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง

“อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงจากราคาในหมวดพลังงาน มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า แต่ประเมินว่าจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีหลังปัจจัยชั่วคราวดังกล่าวทยอยหมดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงแต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต โดยมีความเสี่ยงด้านสูงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับเพิ่มขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด โดยหากราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงราคาอาหารในไทยด้วย และอาจเร่งการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง”

นายปิติ กล่าวต่อว่า ในด้านการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังไม่น่าเป็นห่วงแม้ว่าจะลดลงในช่วงนี้ แต่ในช่วงต่อไปมีโอกาสปรับขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินเชื่ออาจด้อยลงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า นอกจากนั้น ธปท.จับตาความเสี่ยงใน 3 เรื่อง คือ เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน นโยบายประเทศที่ยังไม่แน่นอนต้องรอรัฐบาลใหม่ และผลกระทบจากภัยแล้งที่จะกระทบต่อราคาสินค้าและอาหาร

ทั้งนี้ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการ ประเมินว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ถือว่า ยังคงเหมาะสม ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเข้าสู่ระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อโน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูง นโยบายการเงินยังควรดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืนควบคู่กับให้ความสำคัญกับเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว

ส่วนกรณีที่ว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมหรือไม่ ธปท.มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นนี้เริ่มกลับเข้าใกล้ระดับที่เหมาะสม ที่ควรจะเป็น โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเริ่มกลับมาบวก ซึ่ง กนง.มองว่าจะต้องขึ้นไปในจุดที่เหมาะสมกับศักยภาพ โดยอาจจะต้องคงไว้ในอัตรานี้สักพักก่อน และดูข้อมูลต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนโยบายการเงินในระยะต่อไป จะพิจารณาอย่างไรนั้น ถือเป็นรอบสำคัญเพื่อให้การพิจารณานโยบายการเงินในครั้งต่อไปเหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ