“สรรพากร” เล็งใช้ ChatGPT จัดการข้อมูลภาษี-ลดการใช้ดุลพินิจและข้อโต้แย้ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“สรรพากร” เล็งใช้ ChatGPT จัดการข้อมูลภาษี-ลดการใช้ดุลพินิจและข้อโต้แย้ง

Date Time: 10 ก.ค. 2566 05:40 น.

Summary

  • นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้จะหารือกับบริษัท ไมโครซอฟท์ จำกัด เพื่อนำ ChatGPT เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในระบบภาษีสรรพากร

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้จะหารือกับบริษัท ไมโครซอฟท์ จำกัด เพื่อนำ ChatGPT เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในระบบภาษีสรรพากร โดยจะนำข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายภาษีทั้งหมด คำพิพากษาศาลเกี่ยวกับภาษี และแนวคำตอบภาษีที่กำหนดไว้ให้เจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ตอบคำถามผู้เสียภาษีใส่ไว้ในระบบ ChatGPT เพื่อลดการใช้ดุลพินิจ และข้อโต้แย้งระหว่างผู้เสียภาษีและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เนื่องจากปัจจุบันผู้เสียภาษีจะแจ้งว่าการชำระภาษีดังกล่าว ได้ปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรแล้ว แต่เมื่อมาชำระภาษี กลับถูกเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอีกฝ่ายแจ้งว่าไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจ เพราะฉะนั้นการใช้ ChatGPT ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เชื่อว่าจะลดปัญหาได้อย่างแน่นอน

นายลวรณ กล่าวว่า กรมสรรพสากรได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เป็นดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระภาษีของประชาชน เพื่อให้เรื่องการเสียภาษีเป็นเรื่องง่ายที่สุด และลดการใช้กระดาษด้วย โดยจะนำเอกสารภาษีสแกนเป็นไฟล์ดิจิทัลทั้งหมด จากปัจจุบันต้องจัดเก็บเป็นเอกสารเป็นเวลา 5-10 ปี และเมื่อต้องตรวจสอบย้อนหลังต้องไปค้นเอกสารทั้งหมด ขณะที่ไฟล์ดิจิทัลจะทำให้การตรวจสอบความผิดปกติได้เร็วขึ้น “กรมสรรพากรได้ปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล หรือ E-Tax เพื่ออำนวยความสะดวกผู้เสียภาษี และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมาย”

สำหรับการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร รายได้ในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-พ.ค.66) จัดเก็บภาษีได้ 1.30 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 134,000 ล้านบาท หรือสูงกว่าเป้า 11.5% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 4.4% โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ