"ดีอีเอส" ถกอีคอมเมิร์ซยักษ์ จัดระเบียบแพลตฟอร์มดิจิทัล

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

"ดีอีเอส" ถกอีคอมเมิร์ซยักษ์ จัดระเบียบแพลตฟอร์มดิจิทัล

Date Time: 6 ก.ค. 2566 06:51 น.

Summary

  • นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 ดีอีเอสพร้อมด้วยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

Latest

ที่ยืนของ “ธุรกิจไทย” แคบลงทุกที ไทยขาดดุล “จีน” สูงขึ้นเรื่อยๆ นำเข้าสินค้า ผ่าน Shopee - Lazada

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 ดีอีเอสพร้อมด้วยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ ลาซาด้า, ช้อปปี้, แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอป, Noc Noc, และ LnwShop (เทพช็อป) เพื่อเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ.2565 หรือกฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค.66 โดยผู้ให้บริการดังกล่าวเข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ

โดยจากการหารือส่วนใหญ่มีความเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือในการจะเข้ามาจดแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจให้ ETDA ทราบ โดยเป้าหมายของกฎหมาย DPS คือมุ่งเน้นการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ภายใต้การส่งเสริมและการสนับสนุนให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีการพัฒนาให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อช่วยเป็นกลไกในการกำกับดูแลธุรกิจบริการของตนเองได้อย่างเหมาะสม

สำหรับแพลตฟอร์มที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ภายใต้กฎหมาย DPS ได้แก่ กรณีผู้ให้บริการเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายในไทยเกิน 50 ล้านบาทต่อปี หรือมีผู้ใช้บริการในไทยเฉลี่ยต่อเดือนเกิน 5,000 รายขึ้นไป และหากเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่อยู่นอกประเทศไทย แต่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในไทยจะต้องแต่งตั้งผู้ประสานงานในประเทศไทยและต้องดำเนินการแจ้งข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ