ดูแลครอบครัว เงินไม่พอใช้ หนี้สินอ่วม 3 เรื่องใหญ่ที่ทำให้คน Gen Y ต้องกลายเป็น วัยเดอะแบก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ดูแลครอบครัว เงินไม่พอใช้ หนี้สินอ่วม 3 เรื่องใหญ่ที่ทำให้คน Gen Y ต้องกลายเป็น วัยเดอะแบก

Date Time: 13 พ.ค. 2566 16:38 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • “คนวัยเดอะแบก” 30.17% แบกเรื่องครอบครัว 21.23% เงินไม่พอใช้ และ 15.64% ภาระหนี้สินจำนวนมาก

Latest


ผลสำรวจมหาชนออนไลน์จาก LINE TODAY บอกว่า “คนวัยเดอะแบก” 30.17% แบกเรื่องครอบครัว 21.23% เงินไม่พอใช้ และ 15.64% ภาระหนี้สินจำนวนมาก และนอกเหนือจากสามอันดับแรก ผลสำรวจบอกว่าพวกเขายังกังวลเรื่อง การเติบโตในหน้าที่การงาน ความคาดหวังจากคนรอบข้าง การรับมือลูกน้องและเจ้านาย ความสัมพันธ์เพื่อนและคนรัก ความสมดุลและผ่อนปรนชีวิตจะช่วยให้เดอะแบกไม่รู้สึกว่ากำลังแบกหนักเกินไป ได้จริงหรือไม่

“เดอะ แบก” กลุ่มคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างเจเนอเรชันของพ่อแม่และเจเนอเรชันของลูกและคนรุ่นใหม่ ซึ่งในที่นี้หมายถึง กลุ่มคน Gen Y หรือกลุ่มมิลเลนเนียล ที่มีช่วงอายุระหว่าง 26-40 ปีขึ้นไป เป็น กลุ่มประชากรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนทุกมิติของสังคม เพราะพวกเขาคือกลุ่มที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน สร้างครอบครัว และยังต้องแบกรับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านต่างๆ

ข้อมูลเหล่านี้ยังสอดคล้องกับผลสำรวจจาก The American Institute of Stress ในปี 2565 ที่เผยว่าเป็น 76% ของกลุ่มคนวัยทำงานออกมายอมรับว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว แม้ว่าจะมีภาระรอบด้าน แต่ให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสาร เพื่อรักษาสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง

จากข้อมูลสถิติการใช้โซเชียลมีเดียของTrueList ระบุว่า กว่า 61% ใช้แอปสื่อสารและโซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ กว่า 72% ยังมองว่าแอปสื่อสารและโซเชียลมีเดียมีส่วนสำคัญมากในชีวิต เป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับคนในวัยอื่นๆ สะท้อนความพยายามในการเชื่อมต่อกับสังคมและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คน เพราะในชีวิตจริง ความสัมพันธ์ในโลกออฟไลน์ต้องห่างเหินกัน

ผลสำรวจ ชี้ว่า ความก้าวหน้าและความมั่นคง อาจไม่ใช่สิ่งที่เดอะแบกกำลังมองหา แต่ขณะเดียวกันก็ยังมองหาความสมดุลที่เกิดจาก ความยืดหยุ่น การเรียนรู้ที่จะยอมผ่อนปรนเมื่อตัวเองกำลังตึงเครียดมากเกินไป การสื่อสาร ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจจากครอบครัวและคนใกล้ชิด ช่วยลดความห่างเหินที่อาจจะนำไปสู่ช่องว่างในความสัมพันธ์และยังสามารถกระชับความสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างสมดุลให้เดอะแบกไม่รู้สึกว่ากำลังแบกหนักเกินไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ