คปภ. เผย "แอม ไซยาไนด์" เป็นตัวแทนขายประกัน 3 บริษัท แต่ไม่มีประวัติการเคลม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คปภ. เผย "แอม ไซยาไนด์" เป็นตัวแทนขายประกัน 3 บริษัท แต่ไม่มีประวัติการเคลม

Date Time: 4 พ.ค. 2566 10:50 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • คปภ. สั่งทีมคนกลางประกันภัยตรวจสอบ "แอม ไซยาไนด์" กรณีเป็นตัวแทนประกันภัย พบข้อมูลมีใบอนุญาตฯ แต่หมดอายุไปแล้ว ในขณะที่ประกันที่ขายยังไม่มีการเคลมประกันแต่อย่างใด

Latest


คปภ. สั่งทีมคนกลางประกันภัยตรวจสอบ "แอม ไซยาไนด์" กรณีเป็นตัวแทนประกันภัย พบข้อมูลมีใบอนุญาตฯ แต่หมดอายุไปแล้ว ในขณะที่ประกันที่ขายยังไม่มีการเคลมประกันแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 66 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. กล่าวว่า หลังจากให้สายตรวจสอบคนกลางประกันภัยทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตของแอม ไซยาไนด์ พบว่า แอมเคยได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตจำนวน 4 ใบอนุญาต สังกัด 3 บริษัท ดังนี้

- ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท เอไอเอ จำกัด วันออกใบอนุญาต 3 ก.พ. 55 วันใบอนุญาตหมดอายุ 2 ก.พ. 56

- ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) วันออกใบอนุญาต 13 มี.ค. 58 วันใบอนุญาตหมดอายุ 12 มี.ค. 59

- ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) วันออกใบอนุญาต 19 ก.ย. 62 วันใบอนุญาตหมดอายุ 18 ก.ย. 63 และวันออกใบอนุญาต 15 ก.พ. 64 วันใบอนุญาตหมดอายุ 14 ก.พ. 65 โดยปัจจุบันใบอนุญาตทั้งหมดได้หมดอายุแล้ว

นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบข้อมูลเพิ่มเติมในเบื้องต้นว่า แอมได้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิต จำนวน 11 กรมธรรม์ ประกอบด้วย

- AIA จำนวน 8 กรมธรรม์ โดยเสนอขายเมื่อปี 55 ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว ณ ปัจจุบันได้สิ้นผลบังคับไปแล้ว โดยในระหว่างความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต

- กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำนวน 1 กรมธรรม์ เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตของบุตรของแอมและไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต

- ไทยประกันชีวิต จำนวน 2 กรมธรรม์ ซึ่งไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต

ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า คปภ. ฝากย้ำเตือนประชาชนว่ากรณีผู้ใดก็ตามกระทำให้บุคคลเสียชีวิตเพื่อหวังเงินประกันภัย นอกจากจะถูกดำเนินคดีและมีความผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่นแล้ว หากมีการพิสูจน์ทราบว่าผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยมีส่วนกระทำความผิดร่วมด้วย

โดยบริษัทประกันภัยอาจจะอ้างเหตุไม่จ่ายเงินตามสัญญาประกันภัยได้ และถ้าเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัยจะมีความผิดทางอาญาด้วย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะติดตามและตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงขอให้ประชาชนมั่นใจต่อระบบประกันภัย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้ในทุกสถานการณ์ หากไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องประกันภัย หรือต้องการข้อมูลด้านประกันภัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Add Line Official @oicconnect


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ