พาณิชย์เติมเงินสหกรณ์อุ้มสวนผลไม้

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

พาณิชย์เติมเงินสหกรณ์อุ้มสวนผลไม้

Date Time: 27 เม.ย. 2566 05:15 น.

Summary

  • ขณะนี้ คณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมเสริมสภาพคล่องการรับซื้อผลไม้ ภายใต้โครงการบริหารจัดการผลไม้ปี 66 ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการขอรับการสนับสนุนค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา

Latest

“เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” ในประเทศไทย จังหวัดไหนบ้าง? ที่ทำเลมีศักยภาพ พร้อมให้ทุนใหญ่ลงทุน

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมเสริมสภาพคล่องการรับซื้อผลไม้ ภายใต้โครงการบริหารจัดการผลไม้ปี 66 ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการขอรับการสนับสนุนค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราไม่เกิน 3% ให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการค้าผลไม้ ที่ได้กู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมารับซื้อผลไม้จากเกษตรกร 8 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ลองกอง มะม่วง และสับปะรด ระหว่างวันที่ 1 มี.ค.-31 ต.ค.66 โดยมีระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน มีกรอบวงเงินกู้ยืมสูงสุดรายละไม่เกิน 100 ล้านบาท

สำหรับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการค้าผลไม้ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จะต้องจดทะเบียนถูกต้องกับหน่วยงานที่กำกับดูแล ได้แก่ กรณีสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รวมทั้งจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมรับซื้อผลไม้

โดยผู้ที่สนใจสามารถยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการกับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 12 พ.ค.66 จากนั้นสถาบันการเงินจะพิจารณาและตรวจสอบ ก่อนเสนอวงเงินที่อนุมัติกลับมายังคณะทำงานฯ ภายในวันที่ 26 พ.ค.66 ซึ่งคณะทำงานจะพิจารณาก่อนประกาศรายชื่อผู้ได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการ และผู้กู้สามารถที่จะเบิกเงินกู้ได้ เมื่อถึงเวลาชำระคืนเงิน ให้ผู้กู้ยื่นขอรับชดเชยอัตราดอกเบี้ยกับคณะทำงานฯ ตั้งแต่ 15 ส.ค.-15 ธ.ค.66 และจะชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้ไม่เกิน 3%

“มั่นใจว่ามาตรการช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการค้าผลไม้ ด้วยการช่วยเหลืออัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3% นี้ จะช่วยเสริมสภาพคล่อง และทำให้มีเงินทุนไปใช้ในการรับซื้อผลไม้จากเกษตรกร และช่วยแก้ปัญหาผลผลิตออกกระจุกตัว และล้นตลาดลงได้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ