เฮลั่น! รัฐสั่งตรึงค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เฮลั่น! รัฐสั่งตรึงค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.

Date Time: 10 มี.ค. 2566 05:45 น.

Summary

  • ในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ปรับเพิ่มเป็น 98 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งเมื่อรวมค่าไฟฐานแล้วทำให้ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.75 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 บาทต่อหน่วย

Latest

ที่ยืนของ “ธุรกิจไทย” แคบลงทุกที ไทยขาดดุล “จีน” สูงขึ้นเรื่อยๆ นำเข้าสินค้า ผ่าน Shopee - Lazada

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2566 ว่า ที่ประชุม กพช.ได้มีการหารือถึงการดูแลเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าต่างๆ ก็พยายามจะไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนในทุกกลุ่ม การดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อยก็ยังมีความจำเป็น ในส่วนของราคาพลังงานก็อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ต้องการทำให้ใครเดือดร้อนทั้งสิ้น

ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค.-ส.ค.2566 ว่า ค่าไฟฟ้าจะเหลืออัตราเดียวทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม จากเดิมที่ใช้ค่าไฟฟ้า 2 อัตรา คือค่าไฟสำหรับครัวเรือนอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และค่าไฟของภาคอุตสาหกรรม 5.33 บาทต่อหน่วย โดยการปรับลดลงของภาคอุตสาหกรรมมาเท่ากับภาคครัวเรือนนั้น เป็นไปตามแนวนโยบายที่ต้องช่วยดูแลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่ทำให้ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบ ส่วนค่าไฟฟ้าภาคครัวเรือนซึ่งอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยในงวดนี้ได้ให้นโยบายกับหน่วยงานที่จัดทำค่าไฟฟ้าคือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แล้วว่าไม่ควรที่จะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าคือก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ปรับเพิ่มเป็น 98 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งเมื่อรวมค่าไฟฐานแล้วทำให้ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.75 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 บาทต่อหน่วยนั้น ในส่วนนี้มองว่าฝ่ายนโยบายสามารถดูแลได้ โดยตอนนี้ภาระสำคัญที่ต้องดูไม่ให้เกิดผลกระทบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ต้องได้รับการชดเชยจากการแบกรับค่า FT เมื่อปีที่ผ่านมากว่าแสนล้านบาทซึ่งก็ต้องดูว่าจะชดเชยกลับคืนให้ กฟผ.ได้อย่างไร ราคาค่าไฟในงวดหน้า ในฐานะผู้กำกับนโยบายได้ให้นโยบายไปแล้วว่าค่าไฟฟ้าไม่ควรที่จะปรับขึ้นราคาไฟก็จะกลับมาใช้อัตราเดียวเท่ากันระหว่างภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรมซึ่งต้องดูแลทั้งสองภาคส่วน โดยภาคครัวเรือนต้องดูแลในค่าครองชีพ และภาคอุตสาหกรรมก็ต้องดูแลในช่วงที่ภาวะการส่งออกของประเทศไม่ดี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ