ไทยคม-NT ชนะประมูลดาวเทียม ไร้การแข่งขัน!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ไทยคม-NT ชนะประมูลดาวเทียม ไร้การแข่งขัน!

Date Time: 16 ม.ค. 2566 05:36 น.

Summary

  • กสทช. ได้จัดให้มีการประมูลใบอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ครั้งแรกของประเทศไทย

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2566 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดให้มีการประมูลใบอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ครั้งแรกของประเทศไทย โดยประมูลทั้งสิ้น 5 ชุด ประกอบด้วย 12 ข่ายงานดาวเทียม (Filing) ใน 7 ตำแหน่ง ระยะเวลาอนุญาต 20 ปี มีบริษัทเข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 3 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และ 3.บริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด

การประมูลซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.00 น. เสร็จสิ้นเมื่อเวลา 11.36 น. ใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 36 นาที (รวมเวลาหยุดพัก) แต่หากคิดเฉพาะเวลาที่ผู้ร่วมประมูลตัดสินใจจริงเพียง 31 นาทีเท่านั้น โดยสามารถขายชุดข่ายงานดาวเทียมออกทั้งสิ้น 3 ชุด มูลค่ารวม 806,502,650 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นประมูล 5 ชุดรวมกัน ซึ่งตั้งไว้ที่ราว 1,329 ล้านบาท โดยชุดข่ายงานดาวเทียมที่ขายออก ประกอบด้วย ชุดที่ 2 ไทยคมชนะประมูลในราคา 380.01 ล้านบาท, ชุดที่ 3 ไทยคมได้ไปในราคา 417.40 ล้านบาท และชุดที่ 4 NT ได้ไปในราคา 9 ล้านบาท โดยบอร์ด กสทช.จะรับรองผลการประมูลและเรียกชำระเงินงวดแรก 10% ภายใน 90 วัน งวดที่ 2 อีก 40% ใน 4 ปี และ 50% ที่เหลือใน 6 ปี ส่วนอีก 2 ชุดที่ขายไม่ออก ประกอบด้วยชุดที่ 1 ซึ่งจะหมดอายุการใช้งานเดือน พ.ย.2567 และต้องนำส่งคืนให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) หากไม่มีการใช้งาน และชุดที่ 5 ซึ่งบอร์ด กสทช.จะประชุมหาข้อสรุปต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า พร้อม เทคนิคคอล ผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับสื่อมวลชน เพราะไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อน แต่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัตินั้น ได้เคาะประมูล 1 ครั้งในชุดที่ 2 และหมอบให้กับไทยคม ทำให้พร้อมได้รับเงินค้ำประกันที่วางไว้ 500,000 บาทคืนไปด้วย ซึ่ง พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. ตอบข้อซักถามต่อกรณีพร้อม เทคนิคคอล อาจเข้าประมูลในฐานะไม้ประดับว่า พร้อมทำตามกติกาและผ่านคุณสมบัติ เมื่อเข้ามาเคาะ 1 ครั้ง ถือว่าได้เข้าร่วมประมูลถูกต้องแล้ว “อยากให้มองว่าการประมูลในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้ประโยชน์วงโคจรของประเทศไทย เพราะหากไม่มีการใช้วงโคจรก็ต้องส่งคืน ITU ถือเป็นความเสียหายมากกว่า”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ