ยื่นภาษี 2565 คิดค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน กองทุน และการลงทุนอย่างไร

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ยื่นภาษี 2565 คิดค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน กองทุน และการลงทุนอย่างไร

Date Time: 12 ม.ค. 2566 16:40 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • ยื่นภาษี 2565 คิดค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน กองทุน และการลงทุนอย่างไรเพื่อลดหย่อนภาษีตามสิทธิ

Latest


ยื่นภาษี 2565 คิดค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน กองทุน และการลงทุนอย่างไรเพื่อลดหย่อนภาษีตามสิทธิ

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2565 นั้น เป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคนที่ต้องยื่นแสดงรายได้ให้กับกรมสรรพากร สำหรับปีนี้ เราสามารถยื่นแบบเอกสาร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ภายในวันที่ 31 มี.ค. 66 หรือจะยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ได้เช่นกัน ซึ่งหากยื่นแบบออนไลน์จะสามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เม.ย. 66 โดยบุคคลที่ต้องเสียภาษีมีดังนี้

- กรณีที่โสด มีรายได้ และได้เงินเกิน 120,000 บาทต่อปี หรือ เฉลี่ยรายเดือนละ 10,000 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี

- กรณีที่สมรส มีรายได้ และได้เงินเกิน 220,000 บาทต่อปี หรือ เฉลี่ยรายเดือนละ 18,333 บาท ต้องมีหน้าที่ยื่นเสียภาษี

สำหรับการลดหย่อนภาษีนั้น มีทั้ง ค่าลดหย่อนกลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าลดหย่อนภาษีตามมาตรการรัฐ รวมค่าลดหย่อนในกลุ่มเงินบริจาค แต่ที่เราจะโฟกัสได้แก่กลุ่ม ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน และการลงทุน โดย fintips by ttb ได้แนะนำและขยายความไว้ดังนี้

 

1. ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท แต่เนื่องจากในปี 2565 รัฐบาลมีการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 ลง 2 ครั้ง ในรอบเดือน พ.ค. - ก.ค. และ ต.ค. - ธ.ค. ทำให้ค่าลดหย่อนประกันสังคมเหลือเพียง 6,300 บาท

2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ตัวเอง และของคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

3. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

4. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้ว (ข้อ 3 + ข้อ 4) ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป
  • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น

6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

7. RMF คือ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
  • ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

8. SSF คือ กองทุนรวมเพื่อการออม ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

9. กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 13,200 บาท ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

อย่างไรก็ตาม การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีการวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี และหาตัวช่วยเพื่อลดหย่อนภาษีตามสิทธิ เช่น รายการด้านบน จะทำให้สามารถเสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลยได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ