สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเตือนภัยขึ้นค่าแรง 600 บาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเตือนภัยขึ้นค่าแรง 600 บาท

Date Time: 15 ธ.ค. 2565 06:40 น.

Summary

  • ภาวะสังคมไตรมาส 3 ปีนี้ ที่พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ ด้านแรงงาน ที่ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัว โดยค่าจ้างแรงงานภาคเอกชน

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไตรมาส 3 ปีนี้ ที่พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ ด้านแรงงาน ที่ค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัว โดยค่าจ้างแรงงานภาคเอกชน และภาพรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13,751 และ 15,213 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มสูงขึ้น 5.3% และ 3.8% ตามลำดับ และขยายตัวต่อเนื่อง แต่ผลของเงินเฟ้อทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัวลง ซึ่งค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานภาคเอกชนหดตัว 1.7% และค่าจ้างที่แท้จริงในภาพรวมหดตัว 3.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าแม้ค่าจ้างสูงขึ้น แต่ไม่ทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายของแรงงานเพิ่มขึ้น

“เงินเฟ้อที่สูงกระทบต่อแรงงานนอกระบบมากกว่าแรงงานในระบบ เนื่องจากแรงงานในระบบจะได้ประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเมื่อเดือน ต.ค. ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและกลุ่มแรงงาน ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบ 20 ล้านคน หรือ 50.5% ของแรงงานทั้งหมด เป็นกลุ่มที่รับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวการว่างงานลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 490,000 คน คิดเป็น 1.213% ของจำนวนผู้มีงานทำ”

ขณะที่กรณีที่พรรคการเมืองมีการหาเสียงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็นวันละ 600 บาท ตนเห็นว่าค่าแรงขั้นต่ำเป็นผลตอบแทนของแรงงาน ไร้ทักษะ สิ่งที่รัฐทำมาโดยตลอด คือการเพิ่มทักษะให้กับแรงงาน เพื่อให้มีรายได้ตรงกับทักษะที่เขามี ฉะนั้นหากรายได้ของแรงงานขั้นต่ำมีการขยับขึ้น ก็ต้องมีการปรับรายได้ของแรงงานมีทักษะขึ้นไปด้วย เพื่อให้มีกรอบที่ชัดเจนระหว่างแรงงานมีทักษะกับที่ไม่มีทักษะ ภาระก็จะตกอยู่กับผู้ประกอบการ

“หากมีการปรับขึ้นค่าแรงภาคอุตสาหกรรมก็ต้องปรับไปใช้หุ่นยนต์แทน ตามมาด้วยการปลดคนงาน สิ่งที่ควรทำคือการเพิ่มทักษะแรงงานให้สูงขึ้น และเพิ่มค่าใช้จ่ายตรงนั้น มั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรม ยอมรับได้และการปรับเพิ่มเงินเดือนเด็กปริญญาตรีจบใหม่ จะส่งผลกระทบภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมาที่มีการปรับเพิ่มขึ้นเงินเดือนเด็กจบใหม่ 15,000 บาทต่อเดือน ภาครัฐก็ต้องปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเช่นกัน เพื่อให้เกิดกรอบที่ชัดเจนระหว่างเด็กจบใหม่และคนที่ทำงานมาก่อนแล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณ ที่ผ่านมาเราได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้มีข้อจำกัดของฐานะการเงินการคลัง จึงต้องดูวินัยการเงินการคลังในระยะถัดไป สิ่งที่ควรทำคือการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้มีคุณภาพและปรับเงินเดือนตามฝีมือแรงงาน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ