กรมท่าอากาศยานทุ่มงบ 4 พันล้าน พัฒนาสนามบิน 29 แห่งทั่วไทย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรมท่าอากาศยานทุ่มงบ 4 พันล้าน พัฒนาสนามบิน 29 แห่งทั่วไทย

Date Time: 28 พ.ย. 2565 07:43 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • กรมท่าอากาศยานทุ่มงบกว่า 4 พันล้าน ปรับกลยุทธ์พัฒนาสนามบิน 29 แห่งทั่วไทย มั่นใจปี 66 นี้รองรับผู้โดยสารเดินทางกว่า 41 ล้านคน พร้อมเปิดเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมสายการบินนำร่องใน 6 สนามบิน

Latest


กรมท่าอากาศยานทุ่มงบกว่า 4 พันล้าน ปรับกลยุทธ์พัฒนาสนามบิน 29 แห่งทั่วไทย มั่นใจปี 66 นี้รองรับผู้โดยสารเดินทางกว่า 41 ล้านคน พร้อมเปิดเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมสายการบินนำร่องใน 6 สนามบิน หวังเพิ่มรายได้เข้ากองทุนท่าอากาศยาน

นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน หรือ ทย. กล่าวว่า เรามีแผนพัฒนาสนามบินภูมิภาคทั้ง 29 แห่ง ในปี 2566 หลังจากสถานการณ์การบินเริ่มกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินที่จะให้บริการ กรมท่าอากาศยานจึงมีเป้าหมายดังนี้

1.เร่งพัฒนาขยายขีดความสามารถสนามบินภูมิภาคที่อยู่ในความรับผิดชอบให้มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแผนลงทุนรวมกว่า 4,568.0392 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมโครงข่ายคมนาคมทางอากาศของประเทศ

โดยมีเป้าหมายว่าในปี 66 จะมีปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางผ่านสนามบิน ทย. รวม 41 ล้านคน จากเดิมช่วงก่อนหน้ามีปริมาณการเดินทางที่ 29 ล้านคน

2.กรมท่าอากาศยานมีนโยบายที่จะเพิ่มความสะดวกสบายการบริการให้กับผู้โดยสาร และสายการบินที่มาใช้บริการที่สนามบินของ ทย.ด้วยการเปิดให้บริการเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมสายการบิน

ทั้งนี้ ในแผนกลยุทธ์พัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสนามบินในปี 66 ทย. มีแผนลงทุนรวมกว่า 4,568.0392 ล้านบาทนั้น ในส่วนนี้จะเป็นการเปิดให้บริการของท่าอากาศยานที่พัฒนาแล้วเสร็จ ประกอบด้วย

- สนามบินกระบี่ ที่เปิดให้บริการอาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 1-3 (ในประเทศและระหว่างประเทศ) โดยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากเดิม 1,500 คนต่อชั่วโมง หรือ 4 ล้านคนต่อปี เป็น 3,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 8 ล้านคนต่อปี

- สนามบินขอนแก่น เปิดให้บริการอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ รองรับผู้โดยสารจากเดิม 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.8 ล้านคนต่อปี เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี

- สนามบินนครศรีธรรมราช เปิดให้บริการอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ทำให้รองรับผู้โดยสารจากเดิม 450 คนต่อชั่วโมง หรือ 1.3 ล้านคนต่อปี เป็น 1,600 คนต่อชั่วโมง หรือ 4 ล้านคนต่อปี

นอกจากนั้น กรมท่าอากาศยาน ยังมีแผนสำหรับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาท่าอากาศยานที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพเพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางของนักท่องเที่ยว โดยในปี 66 ได้จัดทำโครงการออกแบบก่อสร้างขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และอาคารที่พักผู้โดยสาร พร้อมศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในหลายๆ สนามบิน เช่น

สนามบินน่านนคร วงเงิน 42.6562 ล้านบาท
สนามบินสุราษฎร์ธานี วงเงิน 57.0280 ล้านบาท
สนามบินชุมพร วงเงิน 41.0427 ล้านบาท
สนามบินสตูล สนามบินมุกดาหาร วงเงิน 41.0427 ล้านบาท
สนามบินบึงกาฬ วงเงิน 41.0427 ล้านบาท

นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยาน ยังมีแผนพัฒนาสนามบินระนอง เพื่อรองรับการพัฒนาตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ในเรื่องของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานจะสามารถรองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้รองรับผู้โดยสารและสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนนโยบายที่จะเพิ่มความสะดวกสบายการบริการให้กับผู้โดยสาร และ สายการบินที่มาใช้บริการที่สนามบินของ กรมท่าอากาศยานด้วยการเปิดให้บริการเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมสายการบินนั้น

ขณะนี้กรมท่าอากาศยานได้เริ่มดำเนินการที่จะลงระบบ และพัฒนาระบบให้เป็นเคาน์เตอร์เช็กอินร่วมแล้วใน 6 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินสุราษฎร์ธานี, สนามบินนครศรีธรรมราช, สนามบินตรัง, สนามบินขอนแก่น, สนามบินอุบลราชธานี และสนามบินพิษณุโลก

โดยข้อดีของการเปิดเคาน์เตอร์เช็คอินร่วมสายการบินนั้นจะช่วยให้ผู้โดยสารไม่ว่าจะเดินทางด้วยสายการบินไหนก็สามารถเช็กอินที่เคาน์เตอร์ของ ทย.ได้ ขณะเดียวกันสายการบินก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนระบบเช็กอินในแต่ละสนามบินเอง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 66 นี้

นายปริญญา กล่าวต่อว่า ในส่วนของแผนการพัฒนาในปี 67-70 นั้น ทาง ทย.จะเน้นมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินของสนามบินระนอง, ชุมพร และนครศรีธรรมราช ตามแผนพัฒนาท่าอากาศยาน 10 ปี 2 ระยะ

รวมถึงนโยบาย Land bridge มูลค่ารวมกว่า 3,600 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งเป็นการพัฒนาสนามบินระนอง ช่วงตั้งแต่ปี 67-70 วงเงิน 1,600 ล้านบาท ด้วยการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้จากเดิม 300 คนต่อชั่วโมง หรือ 0.8 ล้านคนต่อปี เป็น 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.8 ล้านคนต่อปี

ในส่วนของ สนามบินชุมพร จะมีก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ วงเงิน 1,500 ล้านบาท

ส่วนสนามบินนครศรีธรรมราชจะมีการขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินให้สามารถรองรับอากาศยาน เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจากการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ที่แล้วเสร็จวงเงิน 500 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในปี 67 กรมท่าอากาศยานจะมุ่งเน้นการพัฒนา Level of service (LOS) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยจัดทำโครงการจัดหาและติดตั้งระบบตรวจจับการไหลเวียนของผู้โดยสาร วงเงิน 99 ล้านบาท ในสนามบิน 7 แห่ง ประกอบด้วย สนามบินสุราษฎร์ธานี สนามบินนครศรีธรรมราช สนามบินขอนแก่น สนามบินอุบลราชธานี สนามบินพิษณุโลก สนามบินตรัง และสนามบินแม่สอด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ