กระทบ “น้ำท่วม-น้ำมันแพง-ค่าแรงสูง” ราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ต.ค.ขึ้นยกแผง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กระทบ “น้ำท่วม-น้ำมันแพง-ค่าแรงสูง” ราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ต.ค.ขึ้นยกแผง

Date Time: 9 พ.ย. 2565 07:44 น.

Summary

  • ขณะนี้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยดัชนีเดือน ต.ค.65 อยู่ที่ 119.6 เพิ่มขึ้น 3.6% เทียบเดือน ต.ค.64 แต่ลดลงจากเดือน ก.ย.65

Latest

ที่ยืนของ “ธุรกิจไทย” แคบลงทุกที ไทยขาดดุล “จีน” สูงขึ้นเรื่อยๆ นำเข้าสินค้า ผ่าน Shopee - Lazada

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยดัชนีเดือน ต.ค.65 อยู่ที่ 119.6 เพิ่มขึ้น 3.6% เทียบเดือน ต.ค.64 แต่ลดลงจากเดือน ก.ย.65 ที่สูงถึง 5.2% เพราะราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์, ซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่นๆชะลอลง แต่ยังสูงกว่าปีก่อน เพราะมีสินค้าบางรายการที่ราคาเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศ น้ำท่วม และราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยจำแนกรายหมวด ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่ม 8.1% จากปีก่อน, ซีเมนต์เพิ่มขึ้น 6.9%, ผลิตภัณฑ์คอนกรีตเพิ่มขึ้น 3.8%, เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเพิ่มขึ้น 1.3%, กระเบื้องเพิ่มขึ้น 4.4%, วัสดุฉาบผิวเพิ่มขึ้น 2.5%, สุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น 0.7%

“ดัชนีวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่มีการปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้วัตถุดิบขาดแคลนและราคานำเข้าสูงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ดัชนีเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ราคาสูงขึ้นเพียง 0.1% จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาที่ราคาสูงขึ้นจากผลกระทบของราคาพลังงาน และต้นทุนวัตถุดิบ เช่น เหล็ก น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น ที่ยังสูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นแรงกดดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย”

นายพูนพงษ์ กล่าวต่อถึงแนวโน้มเดือน พ.ย.65 ว่า คาดขยายตัวใกล้เคียงกับเดือน ต.ค.65 จากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาท และค่าแรงที่ปรับขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต และค่าขนส่งยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากความต้องการเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กโลกที่ลดลงตามการชะลอของเศรษฐกิจประเทศสำคัญ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ