“Set Zero” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“Set Zero” ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

Date Time: 12 ก.ค. 2565 08:19 น.

Summary

  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณียกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในครั้งแรก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 ก.ค.

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาในคดี ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ฟ้องร้อง คณะกรรมการ มาตรา 36 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณียกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในครั้งแรก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ล่าสุดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องนี้ จะให้ รฟม.ชะลอกำหนดการที่จะมีการรับซองประกวดราคาการเปิดประมูลในรอบที่ 2 ที่ตามกำหนดเดิมจะต้องรับซองข้อเสนอประกวดราคาจากเอกชน ผู้ซื้อซองวันที่ 27 ก.ค.นี้ และเปิดซองวันที่ 1 ส.ค. เพื่อให้ รฟม.มีการสอบถามข้อกฎหมายไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อกฎหมาย ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง 6 ข้อ ให้เกิดความมั่นใจ เพื่อเดินหน้าการประกวดราคา รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ต่อไป

“ผมจะแก้ไขปัญหานี้ โดยอาจใช้วิธีการ เริ่มต้นใหม่ (set zero) หรือใช้แนวทางในการยกเลิกการประกวดราคาทั้ง 2 ครั้ง เพื่อเริ่มกระบวนการประกวดราคาใหม่ บนพื้นฐานที่ทุกฝ่ายเห็นว่า ร่างประกาศเชิญชวนประกวดราคาที่ออกมาเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดข้อครหาว่ามีการล็อกสเปก”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. โดยมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานบอร์ด เป็นประธานการประชุม คาดว่าจะมีการนำแนวทางนโยบายของกระทรวง หารือในที่ประชุมด้วย หลังจากได้ข้อสรุปแล้วก็จะมีการรายงานให้กระทรวงฯทราบ ก่อนนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ มาตรา 36 ต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า กระทรวงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการบูรณาการการพัฒนานวัตกรรมและโครงข่าย ทางถนนร่วมกันระหว่าง กรมทางหลวง (ทล.), กรมทางหลวงชนบท (ทช.), การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่า เพื่อให้การกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองโครงการทางหลวงชนบท และโครงการทางพิเศษ ไม่มีความซ้ำซ้อนกัน ในการลงทุนเป็นการให้ กทพ.เป็นผู้ลงทุนในโครงการแทน ทล. และ ทช. โดยโครงการนำร่องที่ กทพ.จะเป็นผู้นำมาลงทุนและบริหารจัดการโครงการมี 5 โครงการ มูลค่ารวม 200,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 18 โครงการ ในระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2565-2570

สำหรับ 5 โครงการที่จะให้ กทพ.ดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 30 กิโลเมตร (กม. ) 2.โครงการทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 305 (ปทุมธานี-รังสิต-องครักษ์) ระยะทาง 20 กม. 3.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายทางยกระดับศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 18 กม. 4.โครงข่ายทางสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งหลักของประเทศ ช่วงจังหวัดสมุทรสาคร-สมุทรปราการ (สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และถนนเชื่อมต่อ) ระยะทาง 72 กม. และ 5.โครงการสะพานเชื่อมเกาะสมุย จากอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทาง 17 กม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ