ประกันสังคม ย้ำ ผู้ประกันตน ม.40 ที่จ่ายเงินสมทบเกิน สามารถขอรับเงินคืนได้

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ประกันสังคม ย้ำ ผู้ประกันตน ม.40 ที่จ่ายเงินสมทบเกิน สามารถขอรับเงินคืนได้

Date Time: 31 พ.ค. 2565 16:00 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • สำนักงานประกันสังคม ย้ำเตือน "ผู้ประกันตน ม.40" ที่จ่ายเงินสมทบเกิน งวดเดือน ส.ค. 64 – ม.ค. 65 และงวดเดือน ก.พ. – ก.ค. 65 สามารถขอรับเงินคืนได้

Latest


สำนักงานประกันสังคม ย้ำเตือน "ผู้ประกันตน ม.40" ที่จ่ายเงินสมทบเกิน งวดเดือน ส.ค. 64 – ม.ค. 65 และงวดเดือน ก.พ. – ก.ค. 65 สามารถขอรับเงินคืนได้

วันที่ 31 พ.ค. 2565 เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โพสต์ข้อความเรื่อง "ม.40 ใครจ่ายเกิน จ่ายเต็ม ยื่นคำร้องได้เลย ไม่ต้องกังวล" โดยระบุว่า ผู้ประกันตน ม.40 ที่จ่ายเงินสมทบเกิน งวดเดือน ส.ค. 64 – ม.ค. 2565 และงวดเดือน ก.พ. – ก.ค. 2565 สามารถขอรับเงินคืนได้

สำหรับ "ผู้ประกันตนมาตรา 40" สามารถยื่นคำขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิรับเงิน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน โดยเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอรับคืนเงินสมทบ มีดังนี้

1. แบบคำขอรับเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนกรณีลดอัตราเงินสมทบ (สปส.1-40/7) โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

3. หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับเงินแทน พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

  • ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  • ธนาคารออมสิน

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนของงวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 และงวดเดือนกุมพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ในคราวเดียวกันได้ ผู้ประกันตนสามารถคำนวณยอดเงินที่นำส่งไว้เกิน ดังนี้

งวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

งวดเดือนกุมพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

อย่างไรก็ตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง.

ขอบคุณเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์