แนะตั้งทีมเฉพาะกิจปราบหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แนะตั้งทีมเฉพาะกิจปราบหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่

Date Time: 24 พ.ค. 2565 07:30 น.

Summary

  • การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสาร สมัยใหม่สร้างความเสียหายให้กับผู้ถูกหลอกคิดเป็นมูลค่าที่สูง จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีหน้าที่กำกับดูแล ป้องกันการหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ต

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสาร สมัยใหม่สร้างความเสียหายให้กับผู้ถูกหลอกคิดเป็นมูลค่าที่สูง จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีหน้าที่กำกับดูแล ป้องกันการหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ โดยให้เป็นศูนย์ข้อมูลกลางข่าวสาร การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ การทำงานของหน่วยงานนี้ ไม่ต้องตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ให้รวบรวมเจ้าหน้าที่มาทำงานร่วมกันเป็นการเฉพาะ

ทั้งนี้ สศช. ได้ศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ ระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. ในประชากรช่วงอายุ 17-77 ปี จำนวน 5,798 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า 1.คนไทยเกือบครึ่งมีประสบการณ์ถูกหลอกลวงในช่วง 1 ปี และ 2 ใน 5 ตกเป็นเหยื่อ กลุ่มตัวอย่าง 48.1% โดนหลอกลวง ในจำนวนนี้ 42.6% ตกเป็นเหยื่อที่ได้รับความเสียหาย คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 2,400 บาทต่อคน

2.Gen Y และ Gen Z ถูกหลอกลวงสูงกว่า Gen X และ Baby Boomer จากการใช้เวลาและกิจกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งกลุ่ม Baby Boomer มีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งสูงที่สุด 3.การหลอกลวงโดยอ้างจะให้ผลประโยชน์มีสัดส่วนมากที่สุด ที่พบมาก คือ อีเมล/SMS หลอกลวง (Phishing)

ขณะที่ประเภทการหลอกลวงที่มีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงสุด คือ หลอกขายสินค้าออนไลน์ ซื้อแล้วไม่ได้รับของ 82.6% มูลค่าความเสียหายเฉลี่ย 600-700 บาทต่อคน ขณะที่การหลอกลวงข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล/SMS หลอกลวง (Phishing) การถูกแฮ็กข้อมูลหรือหลอกขอข้อมูลบัตรเครดิต และหลอกให้ลงทุน ที่มีอัตราตกเป็นเหยื่อไม่สูง แต่มีมูลค่าความเสียหายค่อนข้างสูง และปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวง 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 270% และมีข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้น 57% ทำให้มีผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์เข้าแจ้งความ 1,600 ราย มูลค่าความเสียหาย 1,000 ล้านบาท มีการร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 48,513 ครั้ง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ