เปิดสถิติ 15 กลโกงซื้อขายออนไลน์ เฟซบุ๊กโดนร้องเรียนหนักสุด สินค้าไม่ตรงปก-ชำรุด-เชิดเงิน!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เปิดสถิติ 15 กลโกงซื้อขายออนไลน์ เฟซบุ๊กโดนร้องเรียนหนักสุด สินค้าไม่ตรงปก-ชำรุด-เชิดเงิน!

Date Time: 22 ม.ค. 2565 05:45 น.

Summary

  • พบว่าแบ่งประเภทได้ 15 เรื่อง โดยช่องทางการซื้อขายที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก มีสัดส่วนถึง 82.1% ตามมาด้วยเว็บไซต์ อินสตาแกรม แพลตฟอร์มอี-มาร์เกตเพลส ไลน์ ทวิตเตอร์ และยูทูบ ตามลำดับ

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ได้สรุปสถิติรูปแบบการฉ้อโกงสำหรับปัญหาการซื้อขายทางออนไลน์ในรอบปี 64 พบว่าแบ่งประเภทได้ 15 เรื่อง โดยช่องทางการซื้อขายที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก มีสัดส่วนถึง 82.1% ตามมาด้วยเว็บไซต์ อินสตาแกรม แพลตฟอร์มอี-มาร์เกตเพลส ไลน์ ทวิตเตอร์ และยูทูบ ตามลำดับ ซึ่งความเสียหายที่พบบ่อยคือ สินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้รับสินค้า สินค้าชำรุด เป็นต้น

สำหรับรูปแบบการฉ้อโกงในการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ ประกอบด้วย

1.การซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระที่เมื่อผ่อนงวดแรกไปแล้วลูกค้าถูกเชิดเงินหนี มักเกิดเหตุกับสินค้าราคาสูง เช่น ทองคำ โทรศัพท์มือถือ

2.การกดดันให้โอนเงินทันที โดยอ้างว่าสินค้ามีน้อยและมีลูกค้ารายอื่นกำลังสนใจ

3.ใช้สถานการณ์ร้อนหรือ Hot issue เป็นช่องการฉ้อโกง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด มีการหลอกขายแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย เครื่องวัดค่าออกซิเจน ชุดตรวจ ATK เป็นต้น และล่าสุดขยายมาถึงต้นไม้ตระกูลใบด่าง

4.การฉ้อโกงผ่านโซเชียลมีเดีย สินค้าที่พบปัญหา ส่วนใหญ่เป็นสินค้าแบรนด์เนม มีมูลค่าความเสียหายสูง

5.การแลกเปลี่ยนสิ่งของผ่านแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนสิ่งของ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับตามที่ตกลงกันไว้ และถูกบล็อกช่องทางการติดต่อหลังจบการแลกเปลี่ยน

6.การซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ แต่สินค้าที่ได้รับชำรุด

7.การซื้อสินค้าแบบ Pre-order โอนเงินแล้วไม่ได้รับสินค้า

8.การถูกฉ้อโกงจากวิธีเก็บเงินปลายทาง ได้รับสินค้าปลอม

9.การแอบอ้างเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า พบบ่อยคือสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อโอนเงินแล้วไม่ได้รับสินค้า

10.การใช้บัญชีที่สวมรอย หลอกลวงให้โอนเงิน

11.พนักงานขนส่งสินค้า ติดต่อให้ชำระเงินค่าสินค้า อ้างว่ามีสินค้าที่ถูกจัดส่งมาจากต่างประเทศ ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนรับสินค้า

12.การประมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ เงื่อนไขคือผู้ประมูลจะต้องเติมเงินก่อนการประมูล แต่หลังจากเติมเงิน ทางแอดมินเพจแจ้งว่าไม่สามารถประมูลได้โดยอ้างเหตุผลต่างๆ และผู้เสียหายไม่ได้รับเงินที่โอนเติมเงินคืน

13.การแจกสินค้าฟรี แต่เรียกเก็บเงินค่าจัดส่ง โอนเงินแล้วไม่ได้รับสินค้า

14.การซื้อสินค้าประเภทผลไม้ตามฤดูกาล และไม่ได้รับสินค้าตามที่ตกลงกันไว้ 

15. การหลอกลวงจากการซื้อสินค้าประเภทเครื่องขุดเหรียญดิจิทัล ได้รับของไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ