จ่ายค่าทางด่วน ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ในราคาเดิม ด้วยคูปองชำระค่าผ่านทาง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จ่ายค่าทางด่วน ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ในราคาเดิม ด้วยคูปองชำระค่าผ่านทาง

Date Time: 3 พ.ย. 2564 14:44 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • คมนาคม เจรจา BEM ขอลดค่าทางด่วน ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก คาดใช้โปรโมชัน คูปองชำระค่าผ่านทาง ราคาเดิม 1 ปี พร้อมชวนให้ใช้ตั๋วร่วม และ M-Flow

Latest


คมนาคม เจรจา BEM ขอลดค่าทางด่วน ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก คาดใช้โปรโมชัน คูปองชำระค่าผ่านทาง ราคาเดิม 1 ปี  พร้อมชวนให้ใช้ตั๋วร่วม และ M-Flow

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันทางบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เข้าใจถึงปัญหาว่าประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะภาระค่าครองชีพของประชาชนผู้ใช้ทางพิเศษ

แม้ว่าในเงื่อนไขสัญญาทาง BEM จะสามารถปรับค่าผ่านทางพิเศษ ทางศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในทุก 5 ปี นับจากเปิดโครงการเมื่อ 15 ธ.ค. 59 ซึ่งจะครบ 5 ปีในวันที่ 15 ธ.ค. 64 นี้ก็ตาม ทาง BEM ยอมที่จะลดค่าผ่านทางด่วนให้ประชาชนในเส้นทางดังกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนแบกรับภาระเพิ่มขึ้น ด้วยการออกมาตรการส่งเสริมทางการตลาด หรือ Promotion ในรูปแบบผู้ใช้ทางที่ใช้คูปองชำระค่าผ่านทางในอัตราราคาเดิมที่ใช้อยู่ เป็นระยะเวลา 1 ปี (15 ธ.ค. 64 – 15 ธ.ค.65) โดยทาง BEM จะทำหนังสือยืนยันมาตรการดังกล่าวแจ้งมายัง กทพ. เพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ใช้ทางพิเศษในช่วงดังกล่าวต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบนทางพิเศษของ กทพ. ที่อยู่ในการกำกับดูแลตามสัญญาสัมปทานของ BEM จำนวน 3 สายทาง ประกอบด้วย ทางพิเศษสายศรีรัช ทางพิเศษสายอุดรรัถยา และทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

โดยการนำเทคโนโลยีระบบจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ Multi-Lane Free Flow : M-Flow มาใช้ ซึ่งทาง BEM เห็นด้วยที่จะดำเนินการตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ดังนั้นทางกระทรวงจึงได้มีข้อสรุปให้ กทพ. จัดทำ action plan ให้ชัดเจนเพื่อเร่งรัดการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติต่อไป

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้หารือถึงการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวก โดยทางบริษัท BEM ยินดีให้ความสนับสนุนกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อใช้ในระบบขนส่งสาธารณะที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการอยู่

ในระยะแรก ได้มีการพัฒนาระบบ EMV Contactless ซึ่งเป็นการหักเงินผ่านระบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของธนาคาร ทั้งในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง พร้อมบูรณาการร่วมกับรถโดยสารของ ขสมก. และทางพิเศษ และจะได้มีการขยายผล ให้ครอบคลุมระบบขนส่งสาธารณะของกระทรวงคมนาคม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบในระยะต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปดูร่างประกาศกระทรวงคมนาคม ที่กำหนดอัตราค่าผ่านทางโครงการทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ที่จะต้องมีการปรับราคา สำหรับรถ 4 ล้อ อัตราปัจจุบัน 50 บาท ปรับเพิ่ม 15 บาท เป็น 65 บาท รถ 6-10 ล้อ อัตราปัจจุบัน 80 บาท ปรับเพิ่ม 25 บาท เป็น 105 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ อัตราปัจจุบัน 115 บาท ปรับเพิ่ม 35 บาท เป็น 150 บาท ซึ่งเมื่อมีการหารือร่วมกันได้ข้อสรุปดังกล่าว จะทำให้ผู้ใช้ทางยังคงจ่ายค่าผ่านทางในราคาเดิมไปอีก 1 ปีในรูปแบบคูปองชำระค่าผ่านทาง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ