ถึงยุคที่ต้องเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป็นนวัตกรรม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ถึงยุคที่ต้องเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป็นนวัตกรรม

Date Time: 13 ก.ค. 2564 05:10 น.

Summary

  • โลกกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่ง ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีธรรมดาแต่เป็นนวัตกรรมขั้นสูง ที่จะทำให้ถึงจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม และโครงสร้างหลักของโลก

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่สุด และมีการพัฒนาพันธุ์ของเชื้อโรคอันตรายที่สุด ในบางประเทศพบผู้ป่วยโควิด เสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า 2 สายพันธุ์ในร่างกาย ถ้าคิดว่าจะ ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส แล้วเอาอยู่หรือเป็นแค่ไข้หวัดใหญ่ธรรมดา หรือใช้มาตรการด้านสาธารณสุขที่มีอยู่ทุกวันนี้มารับมือ คงเป็นการคิดที่ผิดอย่างมหันต์ ดังนั้น โลกกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่ง ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีธรรมดาแต่เป็นนวัตกรรมขั้นสูง ที่จะทำให้ถึงจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม และโครงสร้างหลักของโลก

สงครามการค้า ที่ปรับเปลี่ยนไปจากการได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าจะเป็น การเอาชนะกันด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ในอดีต ประเทศในตะวันออกกลาง มีแหล่งน้ำมันเป็นประเทศที่ร่ำรวยและมีกำลังต่อรองมากที่สุด แต่ในปัจจุบันตรงกันข้าม ประเทศที่มีอำนาจคือ ประเทศที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เร็วที่สุด เช่น การคิดค้น วัคซีนต้านโควิด ซึ่งกลายเป็นสินค้ายุทธศาสตร์ไปแล้ว จากสินค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ธรรมดาๆ

ไม่กี่วันที่ผ่านมา ปตท.กรุ๊ป โดย นพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล ปตท.จับมือกับ บุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR และ อาวีมาศ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวอพ แอนด์ โก เปิดตัว สวอพ แอนด์ โก ผู้บริหารแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping อธิบายง่ายๆก็คือ การสลับแบตเตอรี่ให้กับผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งาน นำร่องจากกลุ่มธุรกิจการรับ-ส่งอาหารหรือสิ่งของแบบ Delivery ที่จะใช้เป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เปลี่ยนผ่านสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

ต้องชม ปตท.อย่างหนึ่งก็คือ การมองการณ์ไกล ทำให้ ปตท.เป็นองค์กรที่ยั่งยืนที่สุดในปัจจุบัน แม้แต่ในยามวิกฤติของประเทศปตท.ก็ยังยืนอยู่ได้เพราะ ปตท.ไม่ได้มุ่งที่จะขายน้ำมันหรือก๊าซเช่นในอดีตแต่ ปตท.เป็นผู้นำร่องไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ ผู้บริหารเองได้ย้ำทุกครั้งว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมนับวันที่จะทวีความรุนแรงและเป็นความท้าทายของโลก ส่งผลกระทบกับโลกมากที่สุด จนกระทั่งหลายประเทศแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เท่ากับศูนย์ และเปลี่ยนผ่านรูปแบบการใช้พลังงานไปสู่พลังงานแห่งอนาคต ซึ่งนั่นหมายถึงการใช้พลังงานบริสุทธิ์ทุกประเภทรวมถึงพลังงานไฟฟ้าด้วย

ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ เศรษฐกิจและธุรกิจที่เข้มแข็ง การสร้าง Business Ecosystem จะเป็นต้นแบบเศรษฐกิจที่สามารถประหยัดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเป็นรูปแบบของธุรกิจในอนาคตที่มาเร็วกว่าที่คิด

การใช้บริการสลับแบตเตอรี่ไฟฟ้าเริ่มที่ 22 สถานี ครอบคลุมทั้ง กทม.เป็นพื้นที่ของ พีทีที สเตชัน 19 แห่งและนอกพื้นที่อีก 3 แห่งเช่นที่ ปตท.สำนักงานใหญ่ ลาดพร้าว 23 สุทธิสาร สามย่าน นานาใต้ ประชาชื่น กำแพงเพชร 2 สนามเป้า กล้วยน้ำไท ประชาอุทิศ 2 แยกวังหิน สามแยกพิชัย เป็นต้น นับเป็นก้าวแรกของธุรกิจสำหรับโลกในอนาคต.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ