กกพ.ตรึงค่า FT งวดก.ย.-ธ.ค. 64 ที่ -15.32 สตางค์ ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กกพ.ตรึงค่า FT งวดก.ย.-ธ.ค. 64 ที่ -15.32 สตางค์ ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน

Date Time: 9 ก.ค. 2564 16:05 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • กกพ.ลงมติตรึงค่า FT ประจำงวด ก.ย.-ธ.ค. 64 ที่ -15.32 สตางค์ หนุนนโยบายรัฐลดค่าครองชีพประชาชน ไม่ให้ถูกซ้ำเติมจากเชื้อเพลิงขาขึ้น

Latest


กกพ.ลงมติตรึงค่า FT ประจำงวด ก.ย.-ธ.ค. 64 ที่ -15.32 สตางค์ หนุนนโยบายรัฐลดค่าครองชีพประชาชน ไม่ให้ถูกซ้ำเติมจากเชื้อเพลิงขาขึ้น

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 64 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 64 ที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. มีมติให้ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า FT สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค. 64 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย

ทั้งนี้ จะส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วยต่อไปจนถึงสิ้นปี 64 ตามแนวทางการพิจารณาที่จะเกลี่ยค่าเอฟทีให้คงที่ตลอดปี 2564 นี้

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ขณะที่ภาคเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบาง และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ยังคงรุนแรงและขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง การตรึงค่าเอฟทีจึงเป็นการประคับประคองเศรษฐกิจ และไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ใช้ไฟฟ้าจากค่าเอฟทีที่ปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปี

นอกจากนี้ กกพ.พิจารณาแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 66.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และแนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินบาทมาอยู่ในระดับ 31.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลโดยตรงต่อค่าเอฟทีในช่วงปลายปี หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะราคาพลังงานขาขึ้น ทำให้ค่าเอฟทีในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การบริหารค่าเอฟทีในปี 2565 จะเป็นไปในทิศทางเพื่อสร้างให้ค่าไฟฟ้ามีเสถียรภาพ มีความมั่นคง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างยั่งยืน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์