“เกษตรกร” แห่ใช้ไม้ยืนต้นค้ำกู้ แหล่งเงินยุคโควิดทดแทน “หนี้นอกระบบ”

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“เกษตรกร” แห่ใช้ไม้ยืนต้นค้ำกู้ แหล่งเงินยุคโควิดทดแทน “หนี้นอกระบบ”

Date Time: 2 ก.ค. 2564 06:45 น.

Summary

  • ตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก หรือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63-30 มิ.ย.64 มีเกษตรกรนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว 25,720 ต้น สินเชื่อ 4.11 ล้านบาท

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

 

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ตั้งแต่กฎกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2561 ภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย.61 เป็นต้นมานั้น ล่าสุด จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 มีสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อรายย่อยอเนกประสงค์ (พิโกไฟแนนซ์) รับไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจแล้ว 119,498 ต้น มูลค่าสินเชื่อรวมกว่า 134 ล้านบาท แบ่งเป็น พิโกไฟแนนซ์ 96,277 ต้น วงเงินสินเชื่อ 4.03 ล้านบาท ต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน เช่น ยาง ยางพารา สัก เป็นต้น และขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น 23,221 ต้น วงเงินกว่า 130 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 221 ต้น วงเงินสินเชื่อ 2.35 ล้านบาท ต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน เช่น สัก มะขาม มะกอกป่า สะเดา ตะโก แดง ประดู่ป่า เป็นต้น

“แม้การใช้ไม้ยืนต้นขอสินเชื่อ ผู้ขอกู้จะได้รับวงเงินสินเชื่อที่ไม่สูงมากนัก รายละ 50,000-100,000 บาท แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้กู้ที่เป็นเกษตรกรและผู้ประกอบการ และยังเป็นการลดการกู้ยืมเงินนอกระบบที่ไม่เป็นธรรม ผิดกฎหมาย โดยคาดว่าในอนาคตพิโกไฟแนนซ์จะให้สินเชื่อโดยใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันได้มากขึ้น โดยที่เกษตรกรที่ขอสินเชื่อไม่ต้องตัดหรือโค่นต้นไม้”

นายทศพลกล่าวต่อว่า ตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก หรือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63-30 มิ.ย.64 มีเกษตรกรนำไม้ยืนต้นมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว 25,720 ต้น สินเชื่อ 4.11 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินกับทั้งพิโกไฟแนนซ์ และ ธ.ก.ส. ซึ่งช่วยให้เกษตรกร โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกอย่างแท้จริง โดยการดำเนินการทั้งผู้ให้หลักประกัน (ผู้กู้) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน) ต้องชี้แจงรายละเอียดอย่างครบถ้วนก่อนลงนามในสัญญาการกู้เงิน เพื่อลดข้อขัดแย้งในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ