เศรษฐกิจไทยยังลูกผีลูกคน!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจไทยยังลูกผีลูกคน!

Date Time: 1 ก.ค. 2564 08:39 น.

Summary

  • เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย.เนื่องจากโควิด-19 ระลอกที่ 3 โดยเห็นการใช้จ่าย และการลงทุนของภาคเอกชนลดลงชัดเจน จากดัชนีความเชื่อมั่นการบริโภคที่ลดลง

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจเดือน พ.ค.ว่า เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย.เนื่องจากโควิด-19 ระลอกที่ 3 โดยเห็นการใช้จ่าย และการลงทุนของภาคเอกชนลดลงชัดเจน จากดัชนีความเชื่อมั่นการบริโภคที่ลดลงเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าลดลงต่ำกว่าระดับความมั่นใจ ธปท.จะติดตามเศรษฐกิจในส่วนของการใช้จ่าย การลงทุน ตลาดแรงงานในช่วงต่อไปอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นพบว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.ยังลดลงต่อเนื่อง

“ดัชนีการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเดือน พ.ค.ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า 3.1% เป็นการลดลงของการใช้จ่ายทั้งสินค้าคงทน กึ่งคงทน และสินค้าไม่คงทน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.3% ขณะที่การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเดือนพ.ค.ได้ช่วยให้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัว อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ฯลฯ”

ทั้งนี้ จากการสำรวจของธปท.พบว่า ตลาดแรงงานยังมีความเปราะบาง โดยภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ โรงแรม ภัตตาคารและการขนส่งคน ขณะที่การติดตามกิจกรรม ของผู้ประกอบการอาชีพอิสระพบว่ามีความกังวลในสถานการณ์ค่อนข้างสูง ซึ่งจากการสอบถามผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการผลิต พบว่าแม้รายได้ยังทรงตัว แต่มีปัญหาในโรงงาน และสถานที่ก่อสร้างที่อยู่ในแหล่งของการแพร่ระบาด

ขณะที่จากการสำรวจภาคการค้า พบว่าการระบาดระลอกนี้รายได้ลดลง เริ่มมีการปลดพนักงาน ขณะที่ภาคบริการ พบว่ารายได้ลดลงชัดเจน มีการลดจำนวนวันในการทำงานลงเหลือไม่ถึงครึ่งจากปกติ มีการปรับเปลี่ยนการทำงานบางส่วนเป็นพาร์ตไทม์ กรณีเหล่านี้จะกระทบต่อตลาดแรงงานโดยรวม และรายได้ของแรงงานมากขึ้น

“ธปท.จะติดตามใน 3 เรื่องคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19, การควบคุมการระบาด, ความเร็วในการจัดหาและฉีดวัคซีน เพราะการหยุดการระบาดเป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป และอีกประเด็นที่ต้องติดตามคือ การขาดแคลนวัตถุดิบ บางภาคในการผลิตเพื่อการส่งออกที่เริ่มเห็นมากขึ้น”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ