กดยอดส่งออกไทยปีนี้หาย 6-9 หมื่นล้านบาท ชี้ “ปฏิวัติเมียนมา” กระทบหนัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กดยอดส่งออกไทยปีนี้หาย 6-9 หมื่นล้านบาท ชี้ “ปฏิวัติเมียนมา” กระทบหนัก

Date Time: 28 พ.ค. 2564 06:30 น.

Summary

  • ศูนย์คาดว่า หากสถานการณ์การประท้วงในเมียนมารุนแรงมากขึ้น มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีอยู่ และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเมียนมาติดลบสูงถึง 11-20%

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการศึกษา “ปฏิวัติเมียนมา : กระทบการค้าการลงทุนไทยและอาเซียน” ว่า ศูนย์คาดว่า หากสถานการณ์การประท้วงในเมียนมารุนแรงมากขึ้น มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีอยู่ และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเมียนมาติดลบสูงถึง 11-20% จะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปเมียนมา หายไป 60,670-96,590 ล้านบาท หรือลดลงถึง 51.6-82.2% ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และจะส่งผลให้มูลค่าส่งออกของไทยโดยรวมในปีนี้ ลดลงได้อีก 0.1-1.3%

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม 10 อันดับแรกที่เสี่ยงต่อการส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์, ผ้าผืน, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์ยาง, รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ, เภสัชภัณฑ์, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์เซรามิค ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค 15 อันดับแรกที่เสี่ยงลดลง ได้แก่ เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว, น้ำตาลทราย, อาหารสัตว์, น้ำมันพืช, วิทยุ โทรทัศน์, กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง, รองเท้า, ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูป และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร

“ถ้าการประท้วงในเมียนมา ยังเป็นแบบนี้ต่อไป ก็จะประทบต่อการส่งออกของไทยไปเมียนมากว่า 50% หรือมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท เพราะรายได้ของคนเมียนมาหายไปกว่า 80% แสดงว่าไม่มีเงินมาจับจ่ายใช้สอย ไม่มีอาหารกิน 3.4 ล้านคนจากการประเมินขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และในปี 65 ยังประเมินอีกว่า คนเมียนมาจะไม่มีอาหารกินเกินครึ่งของประชากรทั้งหมด หรือ 20 กว่าล้านคน จึงส่งผลให้การค้า การลงทุนลดลงแน่ๆ”

นอกจากนี้ สินค้าไทยยังเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้าจากประเทศคู่แข่งอีก แม้สินค้าไทยครองแชมป์มาโดยตลอด แต่สัดส่วนลดลงจาก 50% เหลือ 40% โดยสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย เริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งภาครัฐและเอกชนต้องเร่งปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ