งบรายจ่ายปี 2565 ลงตัวที่ 3.1 ล้านล้านบาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

งบรายจ่ายปี 2565 ลงตัวที่ 3.1 ล้านล้านบาท

Date Time: 6 ม.ค. 2564 06:01 น.

Summary

  • ที่ประชุม ครม.เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 โดยมีวงเงินรายจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 185,962 ล้านบาท

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 โดยมีวงเงินรายจ่าย 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 185,962 ล้านบาท หรือลดลง 5.66% โดยมีรายได้สุทธิ 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 277,000 ล้านบาท หรือลดลง 10.35% โดยในงบประมาณรายจ่ายปี 65 เป็นงบแบบขาดดุล 700,000 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากงบปีก่อนหน้า 91,037 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.95% คิดเป็น 4.04% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

สำหรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายปี 65 ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ 2.35 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบปี 64 จำนวน 183,249 ล้านบาท หรือลดลง 7.22% ของวงเงินงบประมาณ คิดเป็นสัดส่วน 75.95% ของวงเงินงบประมาณ, รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 596.7 ล้านบาท คิดเป็น 0.02% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.80% ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของวงเงินงบประมาณ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบปี 64 จำนวน 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.01% คิดเป็นสัดส่วน 3.22% ของวงเงินงบประมาณ

นอกจากนี้ ครม.ให้รับข้อสังเกตไปดำเนินการดังนี้ 1.การลงทุนในปีงบประมาณ 65 ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย การลงทุนจากเงินงบประมาณของภาครัฐ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน(พีพีพี) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนโดยใช้เงินจากกองทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) และการลงทุนจากต่างประเทศ 2.ควรกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงินงบฯโดยเฉพาะการใช้จ่ายที่เป็นการโอนเงินให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากับผู้ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่อยู่ระหว่างหางานทำ ควรกำหนดเงื่อนไข ให้มีการฝึกอบรมทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ถูกเลิกจ้างในการหางานทำต่อไป และทำให้การใช้จ่ายงบฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของประเทศและความยั่งยืนในระยะต่อไปตามแผนการคลังระยะปานกลาง เห็นควรให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายงบฯเพื่อการลงทุนมากขึ้น และชะลอรายจ่ายประจำที่สามารถทำได้

ทั้งนี้ การตั้งวงเงินดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐาน เศรษฐกิจขยายตัว 3-4% อัตราเงินเฟ้อ 0.7-1.7% ซึ่ง ครม.ให้หน่วยงานที่รับงบประมาณ จัดทำคำขอมาที่สำนักงบฯ ภายใน 15 ม.ค.64 จากนั้นให้สำนักงบฯไปพิจารณาก่อนนำเสนอ ครม. 15 มี.ค.64.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ