เศรษฐกิจไทยดีขึ้น สศค.คาด GDP ไตรมาส 3/63 ติดลบน้อยกว่าไตรมาส 2

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจไทยดีขึ้น สศค.คาด GDP ไตรมาส 3/63 ติดลบน้อยกว่าไตรมาส 2

Date Time: 28 ส.ค. 2563 16:14 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • สศค.คาดจีดีพีไตรมาส 3 ติดลบน้อยกว่าไตรมาส 2 ที่ติดลบ 12.2% ระบุเป้าทั้งปียังอยู่ที่ติดลบ 8.5% ขณะที่เดือน ก.ค.63 เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดี

Latest


สศค.คาดจีดีพีไตรมาส 3 ติดลบน้อยกว่าไตรมาส 2 ที่ติดลบ 12.2% ระบุเป้าทั้งปียังอยู่ที่ติดลบ 8.5% ขณะที่เดือน ก.ค.63 เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณดี หลังการผลิต-การส่งออกสินค้า-การบริโภคภาคเอกชน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้น

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 63 นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน ก.ค. 63 โดยคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ไตรมาส 3 มีแนวโน้มติดลบน้อยกว่ากว่าไตรมาส 2 ที่จีดีพี -12.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในช่วง ก.ค.นี้ ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแม้ภาพรวมยังคงชะลอตัว

ขณะที่ทั้งปี 2563 ประมาณการณ์จีดีพียังอยู่ที่ -8.5% แต่จะเป็นไปตามคาดไว้หรือไม่ต้องรอดูทิศทางเศรษฐกิจในช่วงอีก 1-2 เดือนนี้ก่อน ส่วนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวหรือติดลบมากกว่าครึ่งปีแรกที่เศรษฐกิจอยู่ที่ -6.9% หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถระบุได้จะต้องรอประเมินผลเดือนต่อเดือน

ทั้งนี้ การที่เดือน ก.ค.เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชนเริ่มดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการผ่อนคลายให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น

สำหรับการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 31.4% จากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงกลับมาขยายตัวที่ 4.1% ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เริ่มปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 42.6

หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วยให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

นายวุฒิพงศ์ กล่าวอีกว่า การลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ในหมวดการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัว 1.3% สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว 9.4% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว 13.3% จากเดือนก่อนหน้า”

ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (แวต) ในเดือน ก.ค.ติดลบอยู่ที่ 11.7% ซึ่งยังไม่สามารถสะท้อนการบริโภคที่แท้จริงได้ หากเทียบว่าเดือน ก.ค.การเก็บแวตลดลงจากเดือน มิ.ย. ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 3.4% เนื่องจากกรมสรรพากรเลื่อนระยะจ่ายเวลาภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมต้องชำระเดือน มี.ค. และ เม.ย.63 ไปเป็นชำระเดือน มิ.ย. ทำให้ตัวเลขเก็บแวตเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ

ส่วนเศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 20.8% จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าโดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 17.8% เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่นหดตัวชะลอลง 17.5% สหภาพยุโรป หดตัวชะลอลง 16.0 และอาเซียน 9 ประเทศ หดตัวชะลอลง 19.9%

ส่วนภาคเกษตร ที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัว 1.4% ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อเนื่องเป็นที่ 4 นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563

ทั้ง นี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ท่าติดลบ 1.0% ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.4% ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2563 อยู่ที่ 45.8% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์