ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นรอบ 15 เดือน แต่ยังกังวลเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นรอบ 15 เดือน แต่ยังกังวลเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

Date Time: 5 มิ.ย. 2563 08:40 น.

Summary

  • ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง 2,248รายทั่วประเทศว่าดัชนีเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจาก 47.2ในเดือนเม.ย.63 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ15เดือน

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่าง 2,248 รายทั่วประเทศว่า ดัชนีเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจาก 47.2 ในเดือน เม.ย.63 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 32.2 เพิ่มจาก 31.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต อยู่ที่ 55.7 เพิ่มจาก 54.6 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 40.2 เพิ่มขึ้น จาก 39.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานอยู่ที่ 46.6 เพิ่มจาก 46.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 57.7 ลดจาก 56.4

สาเหตุที่ดัชนีทุกรายการเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์ เปิดธุรกิจระยะที่ 1 และ 2 รวมถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบทั้งด้านการเงินและการคลัง ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี จาก 0.75% เหลือ 0.50% ต่อปี เพราะเศรษฐกิจไทยปีนี้ มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าประมาณการเดิม ตามเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรง ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานในอนาคต

นอกจากนี้ ยังพบว่าดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวขึ้น เช่น ความต้องการซื้อรถยนต์คันใหม่, ซื้อบ้านหลังใหม่, ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและการลงทุนทำธุรกิจของเอสเอ็มอี แต่ค่าดัชนียังอยู่ระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่าแม้ความเชื่อมั่นจะเริ่มฟื้นตัว แต่การซื้อรถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ การท่องเที่ยวและการลงทุนยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะในช่วงนี้ “เศรษฐกิจไทยปี 63คาด ติดลบ 3.5-5% ไตรมาส 2 จีดีพีจะติดลบ 10% ซึ่งน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว ดังนั้นไตรมาส 3 ต้องการให้เร่งอัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจให้ได้อย่างน้อย 200,000 ล้านบาท เน้นจ้างงานในพื้นที่ เพื่อให้เงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจฐานรากได้รวดเร็ว รวมถึงให้รัฐผลักดันการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 500,000 ล้านบาทเพื่อช่วยเอสเอ็มอี คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 4 เพราะการท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัว แต่ต้องไม่มีระบาดรอบ 2 และปัญหาการเมืองไม่รุนแรง”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ