คลังอัดฉีด บสย. 2 แสนล้าน ค้ำเอสเอ็มอี

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คลังอัดฉีด บสย. 2 แสนล้าน ค้ำเอสเอ็มอี

Date Time: 8 พ.ค. 2563 09:11 น.

Summary

  • กระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนการทำงานของ บสย. ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

 
ใจป้ำเติมเงินให้โครงการพีจีเอส 9 เต็มที่ เตรียมแผนรีสตาร์ตธุรกิจหลังจบโควิด

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนการทำงานของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ โดยการค้ำประกันเต็มวงเงินที่มีอยู่

ขณะที่จากรายงานข้อมูลของ บสย. พบว่า จากต้นปีจนถึงวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา บสย.ดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการค้ำประกันตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อ ระยะที่ 8 (PGS 8) วงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดใช้วงเงินไปแล้ว 120,000 ล้านบาท คาดว่าภายในเดือน พ.ค.นี้ จะค้ำประกันเต็มวงเงิน โดยขณะนี้ บสย.อยู่ระหว่างเตรียมขอออกโครงการค้ำประกันสินเชื่อ ระยะที่ 9 หรือ PGS 9 วงเงินรวม 200,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายธุรกิจได้รับผลกระทบ ภาครัฐจึงออกมาตรการช่วยเหลือทั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือมาตรการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8-12 เดือน ข้างหน้า หรือในปี 2564 กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศไทยจะค่อยๆฟื้นตัวกลับมา หรือมีการรีสตาร์ตธุรกิจ ซึ่งจะมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนอีกจำนวนมาก และ บสย.จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น บสย.ควรจะต้องกำหนดช่วงเวลาในการเข้าไปค้ำประกันให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ และต้องเตรียมแผนงานรองรับเพื่อช่วยผู้ประกอบการรีสตาร์ตธุรกิจได้ง่ายด้วย

“ผมมองว่า 200,000 ล้านบาทอาจจะน้อยไปจึงให้ไปทบทวนตัวเลขใหม่ เพราะต้องเผื่อช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆฟื้นตัวกลับมารีสตาร์ตด้วย ซึ่งหากจะเพิ่มวงเงินมากกว่า 200,000 ล้านบาท ผมสนับสนุนเต็มที่ แต่นอกจากการสนับสนุนผู้ประกอบการรีสตาร์ตธุรกิจแล้ว อยากให้ บสย.มีเป้าหมายเน้นอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี (SME) ที่เป็นเครือข่ายกับสตาร์ตอัพ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ที่มีส่วนสนับสนุน หรือดึงการลงทุนเข้ามา ทั้งการลงทุนในพื้นที่ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือพื้นที่บริเวณอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆด้วย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ