เอฟทีเอ-จีเอสพีหนุนส่งออกยุคโควิด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เอฟทีเอ-จีเอสพีหนุนส่งออกยุคโควิด

Date Time: 1 พ.ค. 2563 05:45 น.

Summary

  • นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกสินค้าของไทย โดยสิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกสินค้าของไทย โดยสิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) เดือน ม.ค.-ก.พ.63 ว่า มีมูลค่าการใช้สิทธิรวม 10,321.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 72.98% ของสินค้าที่ได้รับสิทธิทั้งหมด ลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็น มูลค่าการใช้สิทธิภายใต้เอฟทีเอ 9,490.92 ล้านเหรียญฯ ลดลง 11.93% และมูลค่าการใช้สิทธิภายใต้จีเอสพี 830.64 ล้านเหรียญฯ ลดลง 1.19%

สำหรับการใช้สิทธิภายใต้เอฟทีเอ 11 ฉบับนั้น ตลาดที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิส่งออกมากที่สุด คือ อาเซียน มูลค่า 3,657.51 ล้านเหรียญฯ ตามด้วยจีน 2,210.21 ล้านเหรียญฯ อันดับ 3 คือ ออสเตรเลีย 1,193.64 ล้านเหรียญฯ ขณะที่อันดับ 4 คือ ญี่ปุ่น 1,174.08 ล้านเหรียญฯ และอินเดีย 715.54 ล้านเหรียญฯ ขณะที่การส่งออกภายใต้จีเอสพี 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์นั้น ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิสูงสุดคือ สหรัฐฯ 761.95 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 1.57% ตามด้วย สวิตเซอร์แลนด์ 40.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 4.77%, รัสเซียและเครือรัฐ 24.79 ล้านเหรียญฯ ลดลง 2.15% และนอร์เวย์ มี 3.41 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 17.59%

“ปัจจัยสำคัญที่แทรกแซงเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศในช่วง 2 เดือนแรก ปีนี้ คือ การระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มจากจีน ส่งผลให้ภาคการผลิตหยุดชะงักชั่วคราวในช่วงเดือน ก.พ. สะเทือนถึงประเทศต่างๆ ที่พึ่งพาจีน และกระทบเศรษฐกิจ การค้า รวมถึงการท่องเที่ยว แต่ไทยยังมีโอกาสและแต้มต่อในการส่งออกสินค้าไปประเทศคู่ค้าที่ไทยมีเอฟทีเอ และประเทศที่ยังให้จีเอสพีไทย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ