ประมูล 5 จี เคาะราคาเดือด คลื่น 700 รวม 3 ใบอนุญาต 51,459 ล้านบาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ประมูล 5 จี เคาะราคาเดือด คลื่น 700 รวม 3 ใบอนุญาต 51,459 ล้านบาท

Date Time: 16 ก.พ. 2563 15:04 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • เริ่มแล้วกสทช. เปิดประมูล 5G จำนวน 3 คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์(MHz) 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยมีเอกชน 5 ค่าย เข้าร่วมประมูล

Latest


เริ่มแล้ว กสทช. เปิดประมูล 5G จำนวน 3 คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์(MHz) 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยมีเอกชน 5 ค่าย เข้าร่วมประมูล ทั้งบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส, บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เครือบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เครือบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค, บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที

ทั้งนี้ตั้งแต่เวลา 09.30 น. วันที่ 16 ก.พ. เริ่มมีการเคาะราคา โดยเริ่มจากประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท รวมราคา 26,376 ล้านบาท มีเอไอเอส, ทรูมูฟ และ กสท เข้าประมูล ตามมาด้วย คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท และคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 27 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา กสทช. กล่าวว่า การประมูล 5G มีการประมูล 3 คลื่นความถี่ รวม 49 ใบอนุญาต รวมราคาขั้นต่ำ 7.3 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2563 คาดว่ามีเงินลงทุน 1.7 แสนล้านบาท ปี 2564 มีเงินลงทุน 3.2 แสนล้านบาท และในปี 2565 คาดมีเงินลงทุน 4.7 แสนล้านบาท คาดจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับเคาะราคาประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเคาะรอบแรกที่ 9,232 ล้านบาท แสดงความต้องการ 6 ใบอนุญาต และปิดประมูลในรอบที่ 20 ลดเหลือ 3 ใบอนุญาต ราคาประมูล 17,153 ล้านบาท รวม 3 ใบอนุญาต มูลค่า 51,459 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 

จากนั้นเคาะราคาประมูลคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 19 ใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมประมูลจะสามารถประมูลได้ไม่เกิน 10 ใบ ราคาขั้นต่ำใบละ 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นขั้นละ 93 ล้านบาท โดยรอบแรกเคาะที่ 1,955 ล้านบาท แสดงความต้องการ 25 ใบอนุญาต และรอบที่ 2 แสดงความต้องการ 19 ใบอนุญาต จบประมูลราคาใบละ 1,956 ล้านบาท รวมมูลค่า 37,164 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทาง กสทช.ยังไม่เปิดเผยชื่อผู้ชนะประมูล จนกว่าจะจบการประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมด

ต่อมาได้มีการประมูลราคาคลื่นความถี่ 26 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 27 ใบอนุญาต โดยการประมูลจบในรอบที่ 1 จำนวน 26 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 445 ล้านบาท รวมมูลค่าเงิน 11,570 ล้านบาท และเมื่อรวมประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมด ได้เงินเข้ารัฐ รวมจำนวนทั้งสิ้น 100,193 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ