บอร์ด กสทช.เคาะเยียวยา อสมท 6.6พันล้าน แลกคลื่น 2600 MHz ประมูล 5G

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บอร์ด กสทช.เคาะเยียวยา อสมท 6.6พันล้าน แลกคลื่น 2600 MHz ประมูล 5G

Date Time: 12 ก.พ. 2563 21:45 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ได้เห็นชอบจ่ายเงินเยียวยาให้ อสมท วงเงิน 6,685 ล้านบาท ชดเชยคลื่น 2600 เมกะเฮิตรซ์ เอามาประมูล 5G ชี้เลือกทางดีที่สุดแล้ว หาก อสมท ไม่รับมติดังกล่าว ก็ยื่นอุทธรณ์มาได้

Latest


 ภาพ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.จากเฟซบุ๊ก กสทช.

ที่ประชุมบอร์ดกสทช.ได้เห็นชอบจ่ายเงินเยียวยาให้ อสมท วงเงิน 6,685 ล้านบาท ชดเชยคลื่น 2600 เมกะเฮิตรซ์ เอามาประมูล 5G ชี้เลือกทางดีที่สุดแล้ว หาก อสมท ไม่รับมติดังกล่าว ก็ยื่นอุทธรณ์มาได้

เมื่อวันที่ 12 ก.พ.63 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ได้เห็นชอบกรอบการเยียวยาการจ่ายเงินชดเชยคลื่น 2600 เมกะเฮิตรซ์ ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) วงเงิน 6,685.10 ล้านบาท ต่อระยะเวลาการถือครองคลื่น 15 ปี แต่เนื่องจากมีประเด็นความไม่ชัดเจน เรื่องระยะเวลาการถือครองคลื่นของ อสมท ที่ไม่ชัดเจน ระหว่าง 15 ปี กับ 13.5 ปี และการแบ่งเงินเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบฝ่ายละ 50% ระหว่างอสมท กับบริษัท เพลย์เวิรค์ จำกัด คู่สัญญาสัมปทานนั้น จะให้กสทช.ดำเนินการแบ่งให้ หรืออสมท จะดำเนินการเอง

ทั้งนี้ กรรมการเสียงข้างมาก คือ พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร, พ.อ.นที ศุกลรัตน์, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ให้ส่งรายละเอียดให้คณะอนุกรรมการกฎหมายพิจารณา ส่วน พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ, และนายธวัชชัย จิตภาษนันท์ ไม่จำเป็นต้องให้คณะอนุกรรมการกฎหมายพิจารณา ดังนั้นเมื่อกรรมการมีความเห็นแตกต่างกัน จึงเสนอให้คณะอนุกรรมการกฎหมายพิจารณา หลังจากนั้นนำเสนอบอร์ดให้รับทราบอีกครั้ง เพื่อจะได้จัดทำหนังสือแจ้ง อสมท เป็นทางการ แต่หาก อสมท ไม่รับมติบอร์ดดังกล่าว ก็สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์มา กสทช. หรือจะยื่นฟ้องศาลปกครองได้

“กสทช.เลือกแนวทางดีที่สุดแล้ว สำหรับ อสมท เพราะการจ่ายเงินเยียวยา 6,685.10 ล้านบาท คิดเป็น 24.59% ของมูลค่า 27,186.20 ล้านบาท จากจำนวนคลื่น 146 เมกะเฮิตรซ์ ซึ่งจากผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาไว้ 3 กรณี คือ เลวร้ายสุด 1,573.40 ล้านบาท ปานกลาง 3,800.90 ล้านบาท และดีที่สุด 6,685.10 ล้านบาท ฉะนั้นกสทช.คิดว่า อสมท น่าจะพอใจ และจบลงได้ด้วยดี ส่วนการจ่ายเงินให้อสมท จะเป็นไปรอบการจ่ายเงินของผู้ชนะประมูลคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์” เลขาธิการ กสทช.กล่าว

นายฐากร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ดยังเห็นชอบรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูล 5 จี อย่างเป็นทางการด้วย ดังนี้ คลื่น 700 เมกะเฮิตรซ์ มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย เข้าประมูล 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่นจำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ส่วนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ 3 ราย คือ เอไอเอส, ทรูมฟู, แคท ส่วนคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ มี 4 ราย คือ เอไอเอส, ทรูมูฟ, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขณะที่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีผู้เข้าประมูลในครั้งนี้ อีกทั้งบอร์ดยังได้เห็นชอบกรณีคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ที่มีคลื่น 700 เดิมอยู่แล้ว มีสิทธิ์เลือกย่านคลื่นก่อนด้วย เพื่อให้ได้ช่องคลื่นติดกัน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์