คาบลูกคาบดอก : ผลงานมหัศจรรย์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คาบลูกคาบดอก : ผลงานมหัศจรรย์

Date Time: 25 พ.ย. 2562 05:01 น.

Summary

  • เมื่อเร็วๆนี้ GC ได้จัดเวิร์กช็อป ผลงานศิลปะสื่อผสมจากพลาสติก ตามแนวคิด Circular Living ร่วมกับเด็ก เยาวชน ผู้ปกครองและครู ในหัวข้อ GC Circular Living for Better World

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

เมื่อเร็วๆนี้ GC ได้จัดเวิร์กช็อป ผลงานศิลปะสื่อผสมจากพลาสติก ตามแนวคิด Circular Living ร่วมกับเด็ก เยาวชน ผู้ปกครองและครู ในหัวข้อ GC Circular Living for Better World ในโอกาสนี้ได้มีการมอบรางวัลการประกวดวาดภาพระบายสีในโครงการ มหัศจรรย์ปิโตรเคมี ปีที่ 5 ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งสิ้น 40 รางวัล เป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของปิโตรเคมี และการนำทรัพยากรไปใช้อย่างรู้คุณค่า และยังสามารถ นำผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีมาใช้หมุนเวียนให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ เพื่อการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทย สังคมไทย ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนนั่นเอง

โครงการนี้ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงความสามารถ โดยใช้จินตนาการผสมผสานกับความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการระบายสี

ในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันทดแทนวัสดุธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ที่ทำรายได้เข้าประเทศแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล ด้วยนวัตกรรม ไอเดียและการออกแบบในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ไบโอ-พลาสติกที่สามารถสลายตัวได้ในทางชีวภาพมาเป็นตัวเลือกเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย

ในขณะเดียวกัน โครงการประกวดระบายสี มหัศจรรย์ปิโตรเคมี ที่ต่อยอดมาเป็นปีที่ 5 จากผลงานกว่า 1 พันชิ้น แสดงให้เห็นว่า เยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ มีการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ซึ่งจะนำผลงานไปตั้งแสดงที่ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์และ GC สำนักงานระยองต่อไป แม้เงินรางวัลจากโครงการนี้จะไม่มากมายมหาศาลอะไร แต่เป็นการกระตุ้นให้เยาวชนมีการตื่นตัวและสำนึกในการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างมีคุณค่า

แต่สิ่งที่สำคัญและมากกว่านั้นคือ การกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เป็นรูปแบบของการศึกษาในอนาคตที่ไม่ได้ปลูกฝังความรู้แค่ในห้องเรียน หรือเรียนรู้จากทฤษฎี หรือการปฏิบัติที่อยู่ในขอบเขตจำกัดเท่านั้น

สิ่งที่จะต้องถอดบทเรียนด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในโลกอนาคตคือ การสร้างจินตนาการ ไอเดีย และความคิดนอกกรอบ ให้กับเด็กและเยาวชน เปลี่ยนจากการเรียนแบบท่องจำมาสู่ความคิดที่สร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา

ประเทศที่มีความเจริญด้านการศึกษา ใช้หลักการเดียวคือการกระตุ้นจินตนาการให้กับเด็กในการเรียนรู้ตามศักยภาพของเพศและวัย ดังนั้น โครงการดังกล่าวของ GC จึงถือว่าเป็นโครงการมหัศจรรย์ ที่โรงเรียนและสถานศึกษาควรจะนำไปต่อยอดความคิดในการปรับปรุงการเรียนการสอนที่เป็นปกติตามหลักสูตรทั่วไป

ให้เป็นผลงานที่มหัศจรรย์ขึ้นมา.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ