รพ.ใหญ่ซื้อยาถูกแต่ขายแพงกว่า กรมการค้าภายในเตรียมใช้กฎหมายเล่นงาน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

รพ.ใหญ่ซื้อยาถูกแต่ขายแพงกว่า กรมการค้าภายในเตรียมใช้กฎหมายเล่นงาน

Date Time: 1 พ.ย. 2562 08:05 น.

Summary

  • นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยว่า กรมได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนยา ที่โรงพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่ง

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย


แฉยาแก้ปวดลดไข้กำไรมากสุด

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยว่า กรมได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนยา ที่โรงพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่งได้ยื่นราคาซื้อและขายมาให้กับกรมโดยพบว่า มีการคิดราคายาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีบริษัทในเครือ ทั้งๆที่มีอำนาจในการต่อรองราคาซื้อสูงกว่า ต้นทุนในการซื้อยาถูกกว่า แต่ขายในราคาที่แพง กว่าโรงพยาบาลแบบเดี่ยว และแบบมูลนิธิที่มีอำนาจต่อรองต่ำ และซื้อยาได้ในต้นทุนที่สูงกว่า แต่ขายราคาที่ต่ำกว่าได้

“กรมจะนำผลศึกษามาวิเคราะห์ และให้คณะพาณิชยศาสตร์ฯดูต่อว่ากำไรมาตรฐานของยาแต่ละชนิดควรเป็นเท่าใด จากนั้นจะมีแนวทางดำเนินการต่อ หากโรงพยาบาลยังคิดราคาแพง แบบสุดโต่งต้องเข้าไปจัดการ แต่ตอนนี้ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักก่อน”

ผศ.ดร.สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์ อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กล่าวว่า ผลศึกษาพบว่า ต้นทุนยาของโรงพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดธุรกิจ และยังพบอีกว่า โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯปริมณฑล และในจังหวัดท่องเที่ยวตั้งราคาขายยาสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ ธรรมชาติการทำธุรกิจ บริษัทใหญ่จะมีอำนาจต่อรองสูง แล้วซื้อยาได้ในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่กลับตั้งราคายาสวนทาง คือ สูงกว่าโรงพยาบาลแบบเดี่ยวที่ซื้อยาต้นทุนสูง สรุปได้ว่าการตั้งราคายาไม่สอดคล้องกับต้นทุน สิ่งที่น่าห่วงคือ ยาที่มีวอลุ่มการใช้มากยิ่งกำไรเยอะ เช่น แก้ปวดลดไข้ ทั้งนี้ จะวิเคราะห์ต้นทุนยาที่มีคนใช้เยอะก่อน รวมถึงวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ด้วย

ด้านนายวรพงษ์ สุธานนท์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท ไพร๊ซ์ วอเตอร์ เฮาส์ คูเปอร์ คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) ซึ่งช่วยวิเคราะห์ต้นทุนราคายาโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ผลศึกษาพบว่ามียาจำนวนมากที่ต้นทุนซื้อถูกมาก แต่ตั้งราคาสูงและกำไรสูงมาก เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ (Tylenal) ต้นทุนเม็ดละ 48 สตางค์ ขาย 1-22 บาท กำไร 26.58-4,483.34%, ยาลดความดันขาย 2-56 บาท กำไร 150-9,100%, ยาลดไขมัน ขาย 2-61 บาท กำไร 185.71-11,965.21%, ยารักษาลมชักขาย 300-1,354 บาท กำไร 26.12-470.01%, ยาฆ่าเชื้อขาย 1,723-3,655.88 บาท กำไร 64.42-255.81%, ยามะเร็งขาย 86,500-234,767 บาท กำไร 9.98-188.80%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ