ใช้วิกฤติ “เทรดวอร์” ดึงจีนย้ายฐาน “หัวเว่ย” ตอบรับ “สมคิด” ตั้ง “อคาเดมี” ในอีอีซี

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ใช้วิกฤติ “เทรดวอร์” ดึงจีนย้ายฐาน “หัวเว่ย” ตอบรับ “สมคิด” ตั้ง “อคาเดมี” ในอีอีซี

Date Time: 23 ต.ค. 2562 07:30 น.

Summary

  • “สมคิด” สั่ง กสทช. เร่งประมูลคลื่นความถี่ 5 G ภายในครึ่งปี 2563 ดึงบริษัทยักษ์หนีเทรดวอร์ ย้ายฐานจากจีนมาไทย ขณะที่หัวเว่ยตกลงตั้งอคาเดมี่ในไทย

Latest

เจ้าหนี้การบินไทยขอเลื่อนโหวตแผนฟื้นฟู

“สมคิด” สั่ง กสทช. เร่งประมูลคลื่นความถี่ 5 G ภายในครึ่งปี 2563 ดึงบริษัทยักษ์หนีเทรดวอร์ ย้ายฐานจากจีนมาไทย ขณะที่หัวเว่ยตกลงตั้งอคาเดมี่ในไทย สกพอ. เซ็นเอ็มโอยู สร้างความเชื่อมโยงพื้นที่อีอีซีกับมณฑลกวางตุ้ง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการโรดโชว์ชักจูงนักลงทุนร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และสำนักงานคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่มณฑล กวางตุ้ง ระหว่างวันที่ 21-25 ต.ค. 2562 ว่า ได้หารือกับนายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ยซึ่งได้ตกลงที่จะไปตั้งหัวเว่ย
อคาเดมี่เพื่อพัฒนาบุคลากรร่วมกันในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และจากการหารือกัน ทำให้ได้เห็นความต้องการของภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G ในประเทศไทย

โดยในอนาคตปฏิเสธไม่ได้ว่า 5G จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของประ เทศไปอย่างมาก ดังนั้น การเตรียมความพร้อมถือว่ามีความจำเป็นโดยจากการหารือกับผู้บริหารของหัวเหว่ยว่า จะมีการประมูล 5 G ในประเทศไทยภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเขามองว่าล่าช้าเกินไปเนื่องจากหลายประเทศในอาเซียน เช่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์เตรียมที่จะมีการเริ่มใช้คลื่นความถี่ 5 G ในเร็วๆนี้ซึ่งไทยควรจะมีการเร่งรัดการเปิดประ มูลคลื่นความถี่ 5 G ให้เร็วขึ้นเช่นกันซึ่งหากสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงกลางปี 2563 ก็จะถือว่าดีมาก

นายสมคิดกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าในการเปิดประมูลเคลื่อนความถี่ 5G ว่าจะต้องไม่มองในเรื่องของเม็ดเงินที่ภาครัฐจะได้จากการประมูลเท่านั้น แต่ต้องมองในมิติของการมี 5G แล้วจะเกิดการบริการที่เป็นประโยชน์กับประชา ชนในวงกว้างมากที่สุดด้วย

นอกจากนี้ การหารือกับบริษัทชั้นนำในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนหลายบริษัทมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยผู้บริหารของบริษัท Primax และบริษัท Tymphancy ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำในเรื่องเทคโนโลยีเสียงระดับต้นๆของโลกของไต้หวันซึ่งมีฐานการผลิตในจีน ได้ตัดสินใจที่จะลงทุนในประเทศไทยภายหลังจากที่ได้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆอีก 8 ประเทศ และสุดท้ายเหลือไทยกับเวียดนาม ซึ่งสุดท้ายบริษัทนี้เลือกที่จะมาลงทุนในประเทศไทย โดยระบุชัดเลยว่าการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนครั้งนี้เป็นผลจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

นายสมคิดกล่าวต่อไปว่า ในครั้งนี้มีการลงนามระหว่างสำนักงานนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับมณฑลกวางตุ้งถือว่าเป็นการสร้างความร่วมมือกันที่จะขยายไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคต มีสาระสำคัญ เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมโยงพื้นที่อีอีซีกับมณฑลกวางตุ้งและ เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทั้งนี้ ได้หารือกับนายหลี่ ซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลกวางตุ้งว่าควรมีการตั้งกลไกความร่วมมือในระดับรัฐมนตรีเพื่อติดตามความคืบหน้าการทำงานเป็นระยะๆโดยคาดว่าเมื่อกลไกความร่วมมือเกิดขึ้น และมีการเชื่อมโยงอีอีซีของไทยกับ GBA ของจีน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (one belt one road) ก็จะทำให้เอกชนของจีนเข้ามาลงทุนในไทยอีกมากเพราะเห็นถึงความเชื่อมโยงและโอกาสในการขยายการลงทุน

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว.โดยสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ MOU กับบริษัทหัวเว่ย ครอบคลุมความร่วมมือด้านต่างๆโดยบริษัทหัวเว่ย จะได้จัดตั้ง Huawei Academy ในประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและ ICT

สำหรับภูมิภาคอาเซียนจะเปิดทำ การจริงในเดือนหน้า โดยก่อนหน้านี้ สวทช. และ สนช.ได้ร่วมกับบริษัทหัวเว่ยประเทศไทย ในการคัดเลือกผู้ประกอบการรุ่นแรกเข้ารับการอบรมที่ไทยและจีนเป็นเวลา 6 วัน รวมทั้งจะได้ลงนาม MoU เพื่อร่วมกันพัฒนา Huawei Aca demy สำหรับการอบรมบ่มเพาะกำลังคนด้านดิจิทัลของไทย เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืนร่วมกันในระยะต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ